DSpace Repository

การเปรียบเทียบประสิทธิผลของเอกสารข้อมูลยาสำหรับประชาชนแบบรูปภาพเทียบกับแบบภาษาเขียน: กรณีศึกษา ไอบูโพรเฟน 200 มิลลิกรัม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภูรี อนันตโชติ
dc.contributor.author โชติพัฒน์ อภิชาติกุลชัย
dc.contributor.author ธัญญารัตน์ สกุลด่าน
dc.contributor.author สโรชา อินทร์แสง
dc.contributor.other คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-16T07:20:15Z
dc.date.available 2021-09-16T07:20:15Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.other Sepr 4.6/60
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75539
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 en_US
dc.description.abstract ความสำเร็จของผลการรักษาไม่สามารถบรรลุได้หากปราศจากการใช้ยาที่เหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งได้กำหนดให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาทำการจัดทำเอกสารข้อมูลสำหรับประชาชน (Patient Information Lea flet , PIL) ในการศึกษาก่อนหน้าเปิดเผยว่าผู้ป่วยมักไม่สนใจ PIL รูปแบบภาษาเขียน (written-PIL, W-PIL) ดังนั้น PL รูปแบบรูปภาพ (Pictogra m-PIL, P-PIL) จึงถูกนำมาใช้เป็นทางเลือก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่าง P-PIL กับ W-PIL โดยรวมถึงด้านความชอบของรูปแบบ PIL ด้วยเช่นกัน การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบทดสอบหลังเท่านั้น โดยทำการศึกษาในคนสัญชาติไทยที่สามารถอ่านและเข้าใจภาษาไทยได้ อายุตั้งแต่ 18 ถึง 70 ปี ระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงปริญญาตรี โดยจะใช้ยา Ibuprofen 200 mg เป็นกรณีศึกษา กลุ่มอาสาสมัคร P-PIL และ W-PIL ใช้จำนวน 79 และ 80 คน ตามลำดับ ใช้คำถามปลายเปิด 11 คำถามเช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้และเวลาในการใช้ยานี้ เป็นต้น โดยคะแนนจะถูกนับเมื่อระบุตำแหน่งของคำตอบและตอบคำถามได้ถูกต้องโดยใช้ภาษาตัวเองในการตอบ ซึ่งจะใช้สถิติ Chi-square, independent t-test, และ regression analysis ในการวิเคราะห์ผลการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่ม W-PIL จะแสดงประสิทธิผลในการสื่อสารได้ดีกว่ากลุ่ม P-PIL ซึ่งพบว่า ร้อยละ 27.1 เทียบกับร้อยละ 22.8 ของอาสาสมัครที่ได้อ่าน W-PIL และ P-PIL แล้วตอบถูกต้องและชี้ถูกตำแหน่งถูกต้องทั้ง 11 คำถาม (P-value =0.49) กลุ่ม W-PIL มีคะแนนด้านความเข้าใจที่มากกว่ากลุ่ม P-PIL (9.60 + 1.51 คะแนน เทียบกับ 8.85 + 1.97 คะแนน, P = 0.008) ด้านการอ่านของกลุ่ม P-PIL การมีอายุมาก การศึกษาต่ำและเพศหญิง จะทำให้คะแนนความเข้าใจลดลงอย่างเห็นได้ชัด มากกว่าร้อยละ 70 ของอาสาสมัครตอบแบบสอบถามรายงานว่า พวกเขาต้องการ W-PIL เพื่อบรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์ยา พวกเขาเห็นว่า W-PL ให้รายละเอียดข้อมูลยาได้ดีกว่า พวกเขายังคิดว่าทั้งสองรูปแบบ PIL เท่าเทียมกันดึงดูดความสนใจและเข้าใจได้ พวกเขายังคิดว่าทั้งสองรูปแบบ PL เท่าเทียมกันในด้านการดึงดูดความสนใจและเข้าใจโดยสรุป W-PIL มีประสิทธิผลที่ดีในการสื่อสารข้อมูลยาโดยใช้ภาษาปกติมากกว่า P-PIL แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหนทางที่สามารถพัฒนารูปแบบ P.PIL ต่อไปได้ ในการศึกษาขั้นต่อไปควรเน้นการเพิ่มความเข้าใจและประเมินประสิทธิผลการสื่อสารของทั้ง P-PIL และ W-PIL en_US
dc.description.abstractalternative Background Successful treatment outcome cannot be achieved without appropriate drug administration. Many FDAs require pharmaceutical industry to prepare Patient Information Leaflet (PIL). Previous studies revealed that patients usually ignore written-PIL (W-PIL). Pictogram-PIL (P-PIL) was proposed as an alternative. Objectives: This study aimed to compare P-PIL and W-PIL on communication effectiveness. The preference of PIL format was also assessed. Methodology: A quasi-experimental post-test only study was conducted. Thai, readable, age 18-70 with 6-16 school-years were included. Ibuprofen 200 mg was selected to study. P-PIL or W-PIL was handed to 79 and 80 participants, consecutively. Eleven open-ended questions e.g. the product name, when and how to use medicine were asked. Score was counted when correctly point-out the answer in PIL, and answer in his/her own language. Chi-square, independent t-test, and regression analysis were used. Results: W-PIL showed greater communication effectiveness than P-PIL. It was found that 27.1% vs 22.8% of those reading W-PIL and P-PIL provided 11/11 correct answers (P-value=0.49). Those in W-PIL group had higher comprehension score than P-PIL group (9.60+1.51 vs 8.85-1.97, P=0.008). Reading P-PIL, getting older, having low education and being female led to significantly lower comprehension score. More than 70% of respondents reported they preferred W-PIL to accompany in product package. They perceived that W-PIL better provided detail drug information. They also think that both PIL format equally attract attention, and comprehensible. Conclusion: W-PIL had better effectiveness to communicate drug information to lay people thanP-PIL. However, there were rooms to improve P-PIL. Further study should focus on enhancing comprehensibility, and re-evaluate the communication effectiveness of both P-PIL and W-PIL. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เภสัชกรรม -- บริการสารสนเทศ en_US
dc.subject Pharmacy -- Information services en_US
dc.subject เอกสาร en_US
dc.subject Documents en_US
dc.title การเปรียบเทียบประสิทธิผลของเอกสารข้อมูลยาสำหรับประชาชนแบบรูปภาพเทียบกับแบบภาษาเขียน: กรณีศึกษา ไอบูโพรเฟน 200 มิลลิกรัม en_US
dc.title.alternative Comparing effectiveness of pictogram versus written patient information leaflet: case study of Ibuprofen 200 mg en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword ข้อมูลยา en_US
dc.subject.keyword เอกสารทางยา en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record