Abstract:
ความเป็นมา: การเข้าถึงยาสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือการมียาขึ้นทะเบียนในประเทศ (Availability) และการที่มียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายได้ (Affordability) ยาชีววัตถุเป็นยาที่มีราคาแพง และส่งผลต่อการเข้าถึงยาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงยาชีววัตถุในประเทศไทยกับประเทศอื่นแปดประเทศทั้งในกลุ่มรายได้ป่านกลางระดับสูงและรายได้สูง วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยรวมข้อมูลสถานะการขึ้นทะเบียนยาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและการอนุมัติเบิกจ่ายจากบัญชีเบิกจ่ายของแต่ละประเทศ ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ใช้บัญชีเบิกจ่ายยาของหน่วยงานทหารผ่านศึก รายการยาอ้างอิงที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบได้จากบัญชียาชีววัตถุของสหรัฐอเมริก ารศึกษานี้เก็บข้อมูลจากประเทศรายได้ปานกลาง
ระดับสูง ได้แก่ จีน มาเลเซีย และไทย และประเทศรายได้สูง ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไต้หวัน ผลการศึกษา: ประเทศรายได้สูงมียาชีวัตถุที่ขึ้นทะเบียนในประเทศ (60% สิงคโปร์ ถึง 82% สหราชอาณาจักร) มากกว่าประเทศรายได้ป่านกลางระดับสูง (32% จีน ถึง 57% ไทย) และการมียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายพบว่าประเทศรายได้สูงมียาชีววัตถุที่เบิกจ่ายได้ (18% สิงคโปร์ ถึง 58% ญี่ปุ่น) มากกว่าประเทศรายได้ปานกลาง ระดับสูง (14% จีน ถึง 22% มาเลเซีย) การเบิกจ่ายยาชีววัตถุหลายกลุ่มในประเทศไทยถูกจำกัดการเข้าถึง เช่น กลุ่มหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคผิวหนัง กลุ่มต้านการติดเชื้อ กลุ่มกล้ามเนื้อและกระดูก กลุ่มระบบหายใจ กลุ่มอวัยวะรับสัมผัส (0%) กลุ่มที่สามารถเบิกจ่ายได้บางส่วน ได้แก่ กลุ่มต้านมะเร็ง และกลุ่มเลือดและส่วนประกอบของเลือด (10% และ 33%) ยกเว้นกลุ่มเบาหวานที่มียาอยู่ในบัญชีเบิกจ่ายมากที่สุด (47%) สรุปผล: ประเทศรายได้สูงส่วนใหญ่มีการ
เข้าถึงยาชีววัตถุทั้งในระดับการมียาขึ้นทะเบียนในประเทศ และการมียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้ป่านกลางระดับสูง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ( เช่น ระบบประกันสุขภาพ ส่วนร่วมจ่าย และการมียาชีววัตถุคล้ายคลึงหรือยาวัตถุตัวที่สองที่ขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศ