Abstract:
ในประเทศไทยเราสามารถพบกล้วยไม้รองเท้านรีสกุล Paphiopedilum ได้หลายชนิด แต่ยังมีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้สกุลนี้น้อยมาก โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการศึกษาพบสารกลุ่มสติลบีน (stilbenes) และ กลุ่มฟลาโวนอยด์ ((lavonoids) หลายชนิดในรากของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum sodefroyae) ซึ่งบางชนิดมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเลือกที่จะทำการศึกษาองค์ประกอบท างเคมีและฤทธิ์ทางชีวภ าพในใบของกล้วยไม้รองเท้านารีอีกชนิดหนึ่งคือ รองเท้านารีเหลืองกระบี่
(P. exul)ซึ่งเป็นพืชที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อนโดยทำการแยกองค์ประกอบทางเคมีจากสารสกัดด้วย
เมทานอลด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟี สามารถแยกสารได้ 7 ชนิด ได้แก่ สารกลุ่มควิโนน 1 ชนิด คือ exulquinoneซึ่งพบว่าเป็นสารธรรมชาติชนิดใหม่ สารกลุ่มสติลบีน 2 ชนิด คือ 5-hydroxy-3-methoxy-trans-stilbene และ 5-hydroxy-3-methoxy-cis-stilbene สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ 1 ชนิด คือ isokaempferide สารผสมของไฟโต-สเตอรอล 2 ชนิด คือ β-sitosterol และ stigmasterol (อัตราส่วน 1:2) และ สารผสมของกรดไขมัน