DSpace Repository

การทดสอบความเข้ากันได้ของเอชแอลเอด้วยเทคนิคโฟลไซโตเมทรี : ทางเลือกหนึ่งของการทดสอบในผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรอปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปาลนี อัมรานนท์
dc.contributor.advisor ภาวิณี คุปตวินทุ
dc.contributor.author นุจนันท์ โชคทวีศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T04:25:00Z
dc.date.available 2021-09-21T04:25:00Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75628
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การตรวจความเข้ากันได้ของ Human Leukocyte Antigen (HLA) ก่อนการปลูกถ่ายไตทำขึ้นเพื่อตรวจจับ Donor Specific Antibody (DSA) ต่อผู้บริจาค ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะ โดยเทคนิคที่ใช้ในปัจจุบันคือเทคนิค Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (CDC-XM) และ Anti-Human Globulin Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (AHG-CDC) มีความไวจำกัด ไม่สามารถตรวจจับ DSA ปริมาณน้อยที่ส่งผลต่ออัตราการรอดของไตได้ ขณะที่เทคนิคโฟลไซโตเมทรี (Flow cytometry crossmactch, FCXM) มีความไวสูงกว่า แต่พบปัญหาผลบวกปลอมจากแอนติบอดีที่ไม่เกี่ยวข้องทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายไต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความไวและความจำเพาะของเทคนิค FCXM โดยศึกษาในลิมโฟซัยต์จากผู้บริจาคไตสมองตายกับน้ำเหลืองตัวอย่างที่ทราบผล DSA จำนวน 20 ตัวอย่างเพื่อประเมินเทคนิคแล้วทดสอบเปรียบเทียบกับเทคนิค CDC,AHG-CDC ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 199 ตัวอย่าง พบว่าในขั้นตอนการประเมินผลเทคนิค FCXM มีความไวและความจำเพาะในกลุ่ม T cell 71% และ 100% ตามลำดับ ส่วน B cell พบว่าความไวเท่ากับ 75% และความจำเพาะ 100% และสอดคล้องกับผล DSA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อทดสอบกับผู้ป่วยให้ผลสอดคล้องกับเทคนิค CDC, AHG-CDC จำนวน 190 ตัวอย่าง คิดเป็น 95.47% พบผลบวกปลอม จำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็น 4.0% ผลการทดสอบความเข้ากันได้และประเมินประสิทธิภาพเทคนิค FCXM นี้สรุปได้ว่าเหมาะสมที่จะนำไปทดลองใช้ทดแทนเทคนิค CDC และ AHG-CDC แต่ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มที่มี DSA ก่อนนำไปใช้จริงในอนาคต
dc.description.abstractalternative The Human Leukocyte Antigen compatibility test before kidney transplantation is done to detect Donor Specific Antibody (DSA) which possibly be the cause of organ rejection. The current technique, Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (CDC) and Anti-Human Globulin Complement-dependent microcytotoxicity crossmatch (AHG-CDC) are still limited in terms of sensitivity. Flow cytometry technique (FCXM) has been reported to give high sensitivity. There was a problem with false positives (FP) by irrelevant antibodies. Additionally, FP data will decrease the opportunity of patients to receive organs and keep them longer on the waiting list. To solve this problem, our study aims to improve sensitivity and specificity of FCXM technique. The study was performed in deceased donor's lymphocytes with 20 known DSA serums to validate the technique and 199 patient’s serum that was tested by CDC and AHG-CDC. The validation result was shown sensitivity and specificity 71% and 100% respectively in the T cell, while the B cell showed 75% sensitivity and 100% specificity. There was a statistically significant between the DSA and FCXM (p < 0.05). The crossmatching result was shown the concordance between CDC, AHG-CDC and FCXM, 190 of 199 samples (95.47%) and Eight samples (4.0%) were found as FP. We concluded that these techniques were suitable to perform in routine. However, further studies in the sample with DSA should be investigated before the implementation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1039
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ไต -- การปลูกถ่าย
dc.subject โฟลว์ไซโตเมตรี
dc.subject Kidneys -- Transplantation
dc.subject Flow cytometry
dc.subject.classification Immunology and Microbiology
dc.subject.classification Medicine
dc.title การทดสอบความเข้ากันได้ของเอชแอลเอด้วยเทคนิคโฟลไซโตเมทรี : ทางเลือกหนึ่งของการทดสอบในผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรอปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย
dc.title.alternative Flow cytometric crossmatch : an alternative technique of HLA compatibility testing in deceased donor kidney transplant waited-lis
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1039


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record