DSpace Repository

ผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรรณพร ทองตะโก
dc.contributor.author สญชัย พลเสน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2021-09-21T04:33:57Z
dc.date.available 2021-09-21T04:33:57Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75681
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือน อายุ 45-59 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ได้รับการฝึกใด ๆ กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกรำไทยแอโรบิก ครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบรายคู่ (Paired-t test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีการลดลงของอัตราการหายใจ แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนตัวแปรสมรรถภาพปอดมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (MIP) และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (MEP) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ พบว่ากลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีค่าแรงบีบมือ ความทนทานของกล้ามเนื้อแขน ความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกรำไทยแอโรบิกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ 
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to determine the effects of aerobic Thai dance training on pulmonary function and health – related physical fitness in menopausal women Twenty-four menopausal women aged 45-59 years were randomized into 2 groups: control group (CON; n=10) and training group (TG; n=12). Participants in CON group had normal daily living and were not receive training program. Those in TG group recieved complete three times a week of aerobic Thai dance program for ten weeks (60 minutes/time). The physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength, and health – related physical fitness variables were analyzed during the pre- and post-tests. The dependent variables between pre-test and post-tests were analyzed using paired t-test. An independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. The results indicated that after ten weeks, in the TG group increased respiratory rate compared to pre-test (p < .05). The TG group had significantly higher FVC, FEV1, MVV MIP, and MEP than pre-test and The CON group. (p < .05). In addition, the TG group increased significantly in health – related physical fitness variable such as hand grip, arms endurance, abdominal endurance, and flexibility compared to pre-test (p<.05). Moreover, the TG group increased significantly in legs strength, back strength, legs endurance, and VO2peak when compared with pre-test and the CON group (p < 0.05). In conclusion, the present finding demonstrated that aerobic Thai dance training improved pulmonary function, respiratory muscle strength, and health – related physical fitness in menopausal women.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1013
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject รำไทย
dc.subject การเต้นแอโรบิก
dc.subject สมรรถภาพทางกายสำหรับสตรีวัยกลางคน
dc.subject การออกกำลังกายสำหรับสตรีวัยกลางคน
dc.subject Aerobic dancing
dc.subject Physical fitness for middle-aged women
dc.subject Exercise for middle-aged women
dc.subject.classification Health Professions
dc.title ผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน
dc.title.alternative Effects of aerobic Thai dance training on pulmonary function and health - related physical fitness in menopausal women
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1013


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record