Abstract:
การวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการจัดการปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอายุ 8 – 12 ปี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบตัวต่อตัว จนผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 10 ราย จึงเกิดความอิ่มตัวของข้อมูล จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบแก่นสาระ เพื่อสร้างข้อสรุปและตีความ
ผลการวิจัยพบว่าการจัดการกับปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ประกอบด้วย 4 ประเด็น ดังนี้
1. ปัญหาการนอนที่ไม่ได้บอกใครและไม่มีใครรู้ : ปัญหาการนอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคือเรื่องที่ไม่ได้บอกใคร และปัญหาการนอนนั้นไม่มีใครรู้
2. การนอนที่ต้องหลับๆตื่นๆ : คือการนอนที่มีลักษณะนอนได้ไม่ต่อเนื่อง หลับๆตื่นๆ หลับอยู่ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมา นอนละเมอ
3. หาอะไรทำเวลานอนไม่หลับ : ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เมื่อนอนไม่หลับจะหาอะไรทำ เช่น การเล่นเกมบนมือถือ เล่นโทรศัพท์ ดูทีวีไปเรื่อยๆ สิ่งที่ทำเหล่านี้ยิ่งทำก็ยิ่งทำให้นอนไม่หล้บมากยิ่งขึ้น
4. ปรับตัวให้นอนพักได้ : ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว การปรับตัวให้งีบหลับช่วงสั้นๆ งีบหลับในที่ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ที่บ้าน ไม่ใช่ห้องนอน และมักหลับตาพัก จนม่อยหลับไปเอง
ผลการวิจัยนี้แสดงว่าผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัดมีปัญหาการนอนเกิดขึ้นที่ไม่ได้รับการแก้ไข ข้อค้นพบนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งมีปัญหาการนอน รวมทั้งการวิจัยในอนาคตในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป