DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
dc.contributor.author วฤณดา อธิคณาพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T05:01:06Z
dc.date.available 2021-09-21T05:01:06Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75738
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบ   2) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและระยะเวลาการเจ็บป่วย จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 7 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมการจัดการอาการทางลบและทักษะที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบ  2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยแบบวัดทักษะชีวิตมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare the functioning of patient with chronic schizophrenia before and after received the negative symptoms management program, and 2) to compare the functioning of patient with chronic schizophrenia who received negative symptoms management program and those who received regular nursing care activities. Forty of patients with chronic schizophrenia who received services in in-patient department, Somdet chaopraya institute of psychiatry, who met the inclusion criteria. They were matched pairs by gender and duration of illness and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the negative symptoms management program composed of 7 group activities for 3 weeks to improve negative symptoms management skill and relevant skill. The control group received regular nursing care activities. The research instrument consisted; 1) The Negative Symptoms Management Program,   2) Demographic questionnaire, and 3) The Life Skill Profile. All instruments were tested for content validity by 5 professional experts. The reliability of the Life Skill Profile was reported by Cronbach’s Alpha coefficient of .88 Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. Major findings were as follows: 1. The functioning of patients with chronic schizophrenia who received the negative symptoms management program was significantly higher than before, at p .05 level; 2. The functioning of patients with chronic schizophrenia who received the negative symptoms management program was significantly higher than that who received regular nursing care activities, at p .05 level;
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.908
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject การพยาบาลจิตเวชศาสตร์
dc.subject ความคิดทางลบ
dc.subject Schizophrenics
dc.subject Psychiatric nursing
dc.subject Negative thinking
dc.subject.classification Nursing
dc.title ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง
dc.title.alternative The effect of negative symptoms management program on functioning of patients with chronic schizophrenia
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.908


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record