DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค 

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิราพร เกศพิชญวัฒนา
dc.contributor.author สุภาวดี ล่ำสัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T05:01:12Z
dc.date.available 2021-09-21T05:01:12Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75746
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) ทั้งนี้โปรแกรมได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง พัฒนาโดย ซาริท และซาริท (Zarit & Zarit, 1990) แปลเป็นภาษาไทยโดย ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และคณะ (2554) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า  1) ค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด ในสัปดาห์ที่ 1 หลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 2, 3, 4, 5 และหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 6 ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดของผู้ดูแลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนกิจกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this quasi-experimental research were to 1) study the stress of caregivers in Bang Khae Social Welfare Development Center before, between and after participating in a Humanitude care program and 2) compare the stress of caregivers in Bang Khae Social Welfare Development Center before, between and after participating in a Humanitude care program. The participants were 18 caregivers in line with this study inclusion criterion. The research tool was a program to promote knowledge and practice about Humanitude care (Yves Gineste & Rosettte Marescotti, 2008) for caregivers. The Humanitude care program was first tested for content validity by 5 experts. The data collecting instrument was the Zarit Burden Questionnaire translated into Thai by Chanandchidadussadee Toonsiri (2011) with reliability score of 0.89 and the data were analyzed using mean, standard deviation, One-way Repeated Measures, ANOVA and Pairwise Comparison. Major findings were as follows: 1) Mean stress of caregivers after participating in a Humanitude care program decreased significantly from the first time attending the program, measuring at the level of p < 0.5, and it also continuously decreased significantly before (first week) between (2-5 weeks) and after (sixth week) participating in a Humanitude care program at the level of p < 0.5. 2) Mean of Humanitude care knowledge of caregivers before participating in the Humanitude care program was significantly lower than after participating in the Humanitude care program at the level of p < 0.5. 3) Mean of Humanitude care behavior before participating in the Humanitude care program was significantly lower than after participating in the Humanitude care program at the level of p < 0.5. 4) Mean of Humanitude care activity before participating in the Humanitude care program was significantly lower than after participating in the Humanitude care program at the level of p < 0.5.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.914
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ดูแลสูงอายุ -- ความเครียดในการทำงาน
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแลระยะยาว
dc.subject บ้านพักคนชรา
dc.subject Older caregivers -- Job stress
dc.subject Older people -- Long-term care
dc.subject Old age homes
dc.subject.classification Nursing
dc.title ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค 
dc.title.alternative The effect of promoting humanitude care program on caregiving stress of caregivers in Ban Bang Khae social welfare development center for older persons
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.914


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record