dc.contributor.advisor |
ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
พรทิพย์ กิตติดุลยการ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T05:04:10Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T05:04:10Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75764 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เพื่อประเมินการสั่งใช้ยากลุ่มสแตตินในทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และศึกษาประสิทธิผลการลดระดับไขมันในเลือดของยากลุ่มสแตตินในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัย 551 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.5 เมื่อประเมินการสั่งใช้ยากลุ่มสแตตินตามแนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยที่ควรได้รับยากลุ่มสแตตินตามคำแนะนำเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 198 ราย (ร้อยละ 35.9) แต่ได้รับยากลุ่มสแตตินเพียง 37 ราย (ร้อยละ 6.7) และไม่ได้รับยากลุ่มสแตตินสำหรับป้องกันปฐมภูมิและทุติยภูมิ 155 ราย (ร้อยละ 28.1) และ 6 ราย (ร้อยละ 1.1) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดปฐมภูมิ พบว่า ผู้ป่วยที่ระดับความเสี่ยงปานกลางและสูงถึงสูงมากได้รับการสั่งใช้ยากลุ่มสแตตินไม่ตรงตามคำแนะนำมากกว่าตรงตามคำแนะนำในแนวทางเวชปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01 และ P<0.01 ตามลำดับ) สำหรับข้อมูลประสิทธิผลของการลดระดับไขมันในเลือดของยากลุ่มสแตตินในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ระยะเวลา 3, 6 และ 12 เดือน พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากลุ่มสแตตินและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มสแตตินมีผลต่างของระดับแอลดีแอลในเลือด ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อัตราการสั่งใช้ยากลุ่มสแตตินเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เหมาะสมตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 37.7 แม้ว่ายากลุ่มสแตตินจะมีประสิทธิผลในการลดระดับไขมันในเลือดและมีความปลอดภัยในการใช้ร่วมกับยาต้านไวรัส ดังนั้นควรมีการพิจารณาเพิ่มการสั่งใช้ยากลุ่มสแตตินอย่างสมเหตุผลตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี |
|
dc.description.abstractalternative |
The study conducted was retrospective analytical study to evaluate statins prescribing for prevention of cardiovascular disease and effectiveness of statin in lowering the lipid levels of HIV-infected patients receiving antiretroviral therapy at Krathumbaen Hospital. A total of 551 subjects, 52.5% were male. When evaluating prescriptions for statins in accordance with the 2016 RCPT Clinical Practice Guideline, 198 patients (35.9%) should have received statins but have received statins about 37 patients (6.7%). Others have not received statins for primary and secondary prevention about 155 (28.1%) and 6 (1.1%) respectively. When classified by cardiovascular risk of primary prevention, patients with moderate and high to very high risk who received statins weren't following more than following the guideline with statistically significant (P<0.01 and P<0.01, respectively). The effectiveness of statins at 3, 6 and 12 months had statistically significant difference in LDL level between patient group didn't receive statins and receiving statins (P<0.01). The inappropriate rate of prescribing of statins for the prevention of cardiovascular disease in HIV-infected patients about 37.7%, even though statins are effectiveness and safe to use with antiretroviral drugs. Therefore, there should be a reasonable increase in the prescription of statins according to the criteria for prevention cardiovascular disease in HIV-infected patients. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.631 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
หัวใจ -- โรค -- การป้องกัน |
|
dc.subject |
เอชไอวี (ไวรัส) |
|
dc.subject |
Heart -- Diseases -- Prevention |
|
dc.subject |
HIV (Viruses) |
|
dc.subject.classification |
Health Professions |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การประเมินการสั่งใช้ยากลุ่มสแตติน เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี |
|
dc.title.alternative |
Evaluation of statins prescribing for primary and secondary prevention of cardiovascular diseases in HIV-infected adults |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เภสัชกรรมคลินิก |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
โรคหัวใจและหลอดเลือด |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.631 |
|