DSpace Repository

ปัจจัยและผลลัพธ์ของการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนจากยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นยารับประทานในผู้ป่วยผู้ใหญ่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
dc.contributor.advisor ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์
dc.contributor.author สุมัณฑนา ตันประยูร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T05:04:18Z
dc.date.available 2021-09-21T05:04:18Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75778
dc.description วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยและผลลัพธ์ของการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนจากยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นยารับประทาน วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนรูปแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิด ได้แก่ levofloxacin ciprofloxacin และ moxifloxacin ณ โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 360 ราย แบ่งเป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยา 157 ราย และผู้ที่ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยา 203 ราย พบว่า สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การมีอัตราการหายใจปกติ การมีอัตราการเต้นของหัวใจปกติ การกลืนอาหารทางปากเองได้ และการไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยามีระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และมูลค่ายาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุปผลการวิจัย: อัตราการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนจากยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นยารับประทาน คิดเป็นร้อยละ 43.6 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยา ได้แก่ อัตราการหายใจปกติ อัตราการเต้นของหัวใจปกติ การกลืนอาหารทางปากได้เอง และการไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยา สามารถลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายด้านค่ายาลงได้
dc.description.abstractalternative Objectives: To study factors and outcomes of conversion from intravenous to oral administration of fluoroquinolone antimicrobials in adult patients. Methods: This is a retrospective cohort study. Data were collected from hospitalized patients aged 18 and older and treated with intravenous fluoroquinolone antimicrobials, such as levofloxacin ciprofloxacin and moxifloxacin, at Siriraj hospital from January to December 2018. Results: Out of 360 patients in the study, 157 patients were converted to oral administration while the other 203 patients were not converted. Significantly factors associated with the conversion were normal respiratory rate, normal heart rate, oral intake and the absence of immunodeficiency (p<0.05). Compared between the two groups, the length of hospital stay and medication costs had statistically significant different (p<0.001). Conclusions: The rate of fluoroquinolone antimicrobials conversion was 43.6 percent. The factors associated with conversion were normal respiratory rate, normal heart rate, oral intake and the absence of immunodeficiency. The converted group had shorter length of hospital stay and lower medication costs.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.636
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title ปัจจัยและผลลัพธ์ของการปรับเปลี่ยนวิธีบริหารยาต้านจุลชีพกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนจากยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นยารับประทานในผู้ป่วยผู้ใหญ่
dc.title.alternative Factors and outcomes of conversion from intravenous to oral administration of fluoroquinolone antimicrobials in adult patients
dc.type Thesis
dc.degree.name เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เภสัชกรรมคลินิก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.636


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Theses [1269]
    วิทยานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record