DSpace Repository

การเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม “มัน” ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
dc.contributor.author จิณวัฒน์ แก่นเมือง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T05:10:11Z
dc.date.available 2021-09-21T05:10:11Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75789
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม มัน ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และศึกษากลไกที่ทำให้สรรพนาม มัน เปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงเป็นอบุรุษสรรพนาม ผู้วิจัยแบ่งสมัยของข้อมูลออกเป็น 5 สมัย สมัยละ 50 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2301 – 2550 สำหรับสมัยที่ 1 – 4 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลตัวบทร้อยแก้วจำนวน 40 ตัวบทจากรายการตัวบทของคลังข้อมูลภาษาไทยเชิงประวัติแห่งชาติ ส่วนสมัยที่ 5 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผู้วิจัยมีสมมติฐาน 2 ข้อ กล่าวคือ 1) สรรพนาม มัน เริ่มแสดงความหมายเชิงวัจนปฏิบัติในช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2401 – 2450) และเริ่มไม่แสดงความหมายเชิงการอ้างถึงในสมัยที่ 4 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2451เป็นต้นมา) และ 2) การกลายเป็นอัตวิสัยเป็นกลไกที่ทำให้สรรพนาม มัน เกิดการขยายความหมายเชิงการอ้างถึงจนเปลี่ยนจากสรรพนามอ้างถึงไปเป็นอบุรุษสรรพนาม ผลการศึกษาปฏิเสธสมมติฐานข้อแรก ผู้วิจัยพบว่าสรรพนาม มัน แสดงความหมายหมายเชิงการอ้างถึงในทุกตำแหน่งการปรากฏ ผลการศึกษาพบว่าความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนามมันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความหมายอ้างถึงเชิงอรรถศาสตร์ และความหมายอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติ ความหมายอ้างถึงเชิงอรรถศาสตร์จะเกิดเมื่อสรรพนาม มัน ปรากฏร่วมกับรูปอ้างอิงนำแสดงรูป รูปอ้างอิงนำแสดงรูปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ นามวลี กริยาวลี อนุพากย์ และข้อความ รูปอ้างอิงนำแต่ละประเภทจะแสดงสิ่งอ้างถึงแตกต่างกันไป กล่าวคือ สรรพสิ่ง การกระทำ เหตุการณ์เดี่ยว และเหตุการณ์ซับซ้อนตามลำดับ ส่วนความหมายอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติจะเกิดเมื่อสรรพนาม มัน ปรากฏร่วมกับรูปอ้างอิงนำโดยนัย ผู้ฟังต้องทำความเข้าใจสิ่งอ้างถึงด้วยการอนุมานจากปริบท สิ่งอ้างถึงที่ปรากฏในความหมายแสดงการอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สิ่งอ้างถึงจากปริบท ประธานผู้กล่าวถ้อย และความรู้ร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายืนยันสมมติฐานข้อที่สอง ผู้วิจัยพบว่ากลไกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 3 กลไก ได้แก่ การวางนัยยะทั่วไป การกลายเป็นอัตวิสัย และการกลายเป็นสหวิสัย การวางนัยยะทั่วไปเป็นกลไกที่ทำให้ความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม มัน เกิดการขยายขอบเขตของรูปอ้างอิงนำ การกลายเป็นอัตวิสัยทำให้เกิดสิ่งอ้างถึงคือประธานผู้กล่าวถ้อย และการกลายเป็นสหวิสัยทำให้เกิดสิ่งอ้างถึงคือความรู้ร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง การกลายเป็นอัตวิสัยและการกลายเป็นสหวิสัยเป็นกลไกที่ทำให้เกิดความหมายอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติขึ้น
dc.description.abstractalternative The objectives of the present study are to analyze the change in semantic referentiality of the pronoun /man1/ in Thai during during the Rattanakosin period and analyze the mechanisms leading the referential pronoun /man1/ to the impersonal one. Data were divided into five periods, each of which covers 50 years starting from B.E. 2301 – 2550. For the first to fourth periods, forty pieces of prose appearing in the list of Thai National Historical Corpus were used. For the fifth period, data from Thai National Corpus were extracted. Two hypotheses are posited: 1) the pronoun /man1/ first expressed pragmatic referentiality in the third period (B.E. 2401 – 2450), and first expressed nonreferentiality in the fourth period (from B.E. 2451 onwards) and 2) subjectification is the mechanism resulting in generalization of referentiality which made the referential pronoun /man1/ become impersonal one. The findings refute the first hypothesis, showing that the pronoun /man1/ exhibits referentiality in all occurrences. The findings show that referentiality of the pronoun /man1/ can be categorized into two types, semantic and pragmatic referentiality. Semantic referentiality is expressed when the pronoun /man/ co-occurs with explicit antecedents. They consist of four types; that is noun phrases, verb phrases, clauses, and discourses. Each antecedent refers to distinct types of referents; that is entities, actions, simple events, and complex events respectively. Pragmatic referentiality is exhibited when the pronoun /man1/ co-occurs with implicit antecedents. Hearers need to infer what the referent is from the context given. Referents in pragmatic referentiality are composed of three types; that is context-based referents, speaking subject, and interlocutors’ common grounds. However, the findings confirm the second hypothesis, showing that there are three mechanisms involving the change, which are generalization, subjectification, and intersubjectification. Generalization is the mechanism leading to the extension of antecedent types in referentiality. Subjectification is the mechanism the gives rise to speaking subject referent, and intersubjectification is the mechanism giving rise to interlocutors’ common grounds. Both subjectification and intersubjectification are mechanisms leading to pragmatic referentiality.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.959
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม “มัน” ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์
dc.title.alternative Change in referentiality of the pronoun /man1/ in Thai during the Rattanakosin period
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.959


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record