dc.contributor.advisor | ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ | |
dc.contributor.advisor | สุวรรณา สถาอานันท์ | |
dc.contributor.author | เฉลิมวุฒิ วิจิตร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T05:10:11Z | |
dc.date.available | 2021-09-21T05:10:11Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75790 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | |
dc.description.abstract | การถกเถียงประเด็นเรื่องท่าทีของพุทธศาสนาต่อศาสนาอื่นที่ผ่านมา นักวิชาการทางพุทธศาสนาส่วนใหญ่เห็นว่าพุทธศาสนามีแนวคิดแบบกีดกันหรือแนวคิดแบบรวมเข้าทั้งหมด วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าพุทธศาสนามีแนวคิดแบบพหุนิยมในแง่มุมที่แตกต่างกันในสี่มิติ ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จุดหมายสูงสุด และวิถีปฏิบัติ (1) มิติด้านอภิปรัชญา หลักคำสอนของพุทธศาสนายืนยันว่าสัจธรรมเป็นสิ่งสากลโดยพระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ค้นพบและพระองค์เป็นผู้ทรงสัพพัญญูในเรื่องการดับทุกข์ ทั้งนี้ พุทธศาสนายืนยันความเป็นไปได้ที่ศาสนาอื่นอาจค้นพบสัจธรรม แต่ไม่ได้ยอมรับว่าหลักคำสอนของทุกศาสนาจะเป็นจริงอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด (2) มิติด้านญาณวิทยา มนุษย์จำเป็นต้องตรวจสอบหลักคำสอนของศาสนาทั้งหลายซึ่งรวมถึงหลักคำสอนของพุทธศาสนา การตรวจสอบนั้นต้องไม่ได้เริ่มต้นจากการยืนยันว่าหลักคำสอนของพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นจริง พุทธศาสนาเสนอให้ตรวจสอบหลักคำสอนของศาสนาทั้งหลายด้วยประสาทสัมผัสของปุถุชนสามัญ วิธีการนี้จะทำให้ผู้คนทั่วไปในสังคมสามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบความจริงทางศาสนาได้อย่างเท่าเทียมกันและหาข้อยุติร่วมกันได้ (3) มิติด้านจุดหมายสูงสุด พุทธศาสนามองว่าศาสนาทั้งหลายไม่ได้มีจุดหมายสูงสุดร่วมกันทั้งหมด ซึ่งสื่อนัยว่าศาสนาทั้งหลายอาจมีหลักคำสอนและวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันสำหรับจุดหมายสูงสุดที่แตกต่างกัน ในทัศนะของพุทธศาสนา จุดหมายสูงสุดคือความหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิง (4) มิติด้านวิถีปฏิบัติไปสู่จุดหมายสูงสุด พุทธศาสนายืนยันว่าหลักอริยมรรคมีองค์แปดคือวิถีปฏิบัติเดียวที่นำไปสู่ความหลุดพ้น แต่หลักอริยมรรคมีองค์แปดสามารถถูกแสดงได้ในหลากหลายชื่อเรียกและรูปแบบขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและสติปัญญาของผู้ฟังธรรม และมีความเป็นไปได้ที่วิถีปฏิบัตินี้จะมีอยู่ในหลักคำสอนของศาสนาอื่น | |
dc.description.abstractalternative | In the past discussions on the Buddhist attitude towards other religions, most scholars propose either the exclusivist or inclusivist views. This dissertation proposes that Buddhism take a pluralist position with different qualifications, which can be categorized in four dimensions, namely metaphysics, epistemology, the ultimate goal, and the path to the ultimate goal. (1) Metaphysics, Buddhism insists that the ultimate truth is universal, with the Buddha being only the discoverer, and he is omniscient in regards to the cessation of suffering. Buddhism allows for the possibility that other religions can discover the ultimate truth, but it does not accept the doctrine that all religions are equally true. (2) Epistemology, the doctrines still have to be examined, including the Buddha’s teachings themselves. However, this investigation must not begin with the claim that only Buddha’s teachings are true. Buddhism proposes to examine the doctrines of all religions through the basic senses of humans. This approach allows everyone to participate equally in investigating the religious truth and to reach a conclusion. (3) The ultimate goal, Buddhism does not view all religions as having the same ultimate goal. This implies that other religions may have different doctrines and paths. In the Buddhist perspective, the ultimate goal is complete liberation from suffering. (4) The path to the ultimate goal, Buddhism insists that The Noble Eightfold Path is the only path to liberation, but The Noble Eightfold Path can indeed be expressed in many names and forms depending on the social context and the wisdom of the Dharma listeners. In addition, there are possibilities that this path exists in the doctrines of other religions. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.878 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | พหุนิยมทางศาสนาในพุทธศาสนาเถรวาท | |
dc.title.alternative | Religious pluralism in Theravada Buddhism | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.878 |