Abstract:
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2561 ทั้งหมด 12 เรื่อง ได้แก่ ช้างบิน ริมคลองนั้นมีผมกับเป็ด เอกอีเอ้กเอย เด็กชายผู้ระบายสีฟ้าไม่เป็น จิ๋วกับน้อย ม้าน้าสีทอง Color Land ดินแดนสีสัน กล่องตุ๊กตาสีใสกับจดหมายของพ่อ วันเกิดของเค้าโมง น้าตาแม่มด เด็กชายต้นไม้ และ กระรอกแดงแห่งสวนกว้าง โดยศึกษาเกี่ยวกับปัญหาเยาวชนที่ได้รับการนำเสนอ และวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้วกลุ่มตัวบทนำเสนอ 3 ปัญหาสำคัญที่เยาวชนต้องเผชิญในปัจจุบัน คือปัญหาภายในจิตใจของเยาวชน ได้แก่ การสูญเสียบุคคลที่รัก การขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง ปัญหาในครอบครัว ได้แก่ การใช้ความรุนแรง และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้าและความยากจน ปัญหาการคุกคามธรรมชาติ และปัญหาการถูกกดทับจากรัฐและค่านิยมในสังคม ซึ่งไม่เคยได้รับการนำเสนอมาก่อนในวรรณกรรมกลุ่มนี้ จึงนับว่าวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2561 นำเสนอปัญหาเยาวชนที่ร่วมสมัยกับช่วงปีที่ได้รับการแต่งขึ้น ปัญหาเยาวชนเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านกลวิธีที่สำคัญคือการใช้กลวิธีแบบแฟนตาซีผสมผสาน และการสร้างอารมณ์กระทบใจ กล่าวได้ว่าวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2558 -2561 มีคุณค่าในฐานะวรรณกรรมเยาวชน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการชี้แนะเยาวชนเกี่ยวกับชีวิต และในฐานะวรรณกรรม เพราะมีกลวิธีการแต่งที่สร้างสรรค์ โดยการใช้ลักษณะแฟนตาซีผสมผสานไม่เพียงทำให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้การนำเสนอปัญหาเยาวชนชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่การสร้างอารมณ์กระทบใจก็ทำได้อย่างลุ่มลึกและสมจริง ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมและคล้อยตาม อันจะช่วยเสริมความสามารถในการเรียนรู้จากเรื่องได้ดียิ่งขึ้นด้วย