DSpace Repository

ประติมากรรม: ประจำเดือนและสภาวะความเจ็บปวดภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายของสตรีวัยเจริญพันธุ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กมล เผ่าสวัสดิ์
dc.contributor.advisor กิตสิรินทร์ กิติสกล
dc.contributor.author ชาลิศา วงษ์มงคล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:06:12Z
dc.date.available 2021-09-21T06:06:12Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75998
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่อง ประติมากรรม: ประจำเดือนและสภาวะความเจ็บปวดภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายของสตรีวัยเจริญพันธุ์ มีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อ 1. ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนในกรอบของสังคม วัฒนธรรม และในทางการแพทย์ 2. สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่สะท้อนภาวะความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยจากการสำรวจลักษณะอาการในขณะมีประจำเดือนของตนเอง บันทึกข้อมูลโดยใช้รูปแบบการบันทึก Calendar of Premenstrual Experiences (COPE) โดยแบ่งลักษณะอาการเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการทางกายและอาการทางจิตใจ ร่วมกับการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนทั้งในเชิงการแพทย์ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสร้างชุดข้อมูลที่ใช้กำหนดแนวทางในการสร้างสรรค์ ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาของทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ในการทำความเข้าใจความรู้สึกจากประสบการณ์ การมีประจำเดือนของตนเอง และศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านแนวคิดกับอารมณ์ (Expression) แนวคิดเกี่ยวกับความเจ็บปวด (Painful) ทฤษฎีสัญวิทยา (Semiology) รวมถึงผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารูปแบบและวัสดุที่สามารถแสดงคุณลักษณะถึงความรู้สึกของสภาวะความเจ็บปวดทรมานจากการมีประจำเดือนได้ ผลงานศิลปกรรมที่สะท้อนภาพความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือน โดยนำประสบการณ์และการเลือกใช้วัสดุมาสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกจากการมีประจำเดือนที่ส่งผลต่อร่างกายและชีวิตประจำวัน จากผลงานสร้างสรรค์สามารถสรุปได้ว่า การใช้เทคนิคกระบวนการและวัสดุที่เชื่อมโยงถึงความเป็นผู้หญิง มีศักยภาพพอที่จะใช้เพื่อสื่อสารถึงประสบการณ์ความเป็นผู้หญิง การเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าด้วยกันในผลงานประติมากรรมสามารถถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือนที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจ 
dc.description.abstractalternative Creative research on Sculpture: Menstrual and Pain Under The Effect of Hormonal Change in Women of Reproductive Age. The objectives of this research were 1) to study issues related to menstruation in the social, cultural, and medical framework; 2) to create sculptures that reflect the pain of menstruation, physically and mentally. This research explored and recorded the researcher’s physical and mental symptoms during menstruation using the Calendar of Premenstrual Experiences (COPE) concurrently with the study of monthly medical, social, and cultural-related factors to create a dataset that defined creative presentation. To interpret experience, the researcher applied phenomenological theory and other recent studies on expression, pain, semiology, including some relevant works, to create forms and materials which represent the unbearing state of menstruation.  By applying direct personal experience and careful selection of materials, the researcher created artworks to show emotions and feelings caused by menstrual pain. This study concludes that a combination of techniques, processes, and feminine materials can effectively reflect women’s mental and physical experience, as shown in the presented sculptures.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1205
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ประติมากรรม
dc.subject ระดู
dc.subject.classification Arts anประติมากรรมd Humanities
dc.title ประติมากรรม: ประจำเดือนและสภาวะความเจ็บปวดภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายของสตรีวัยเจริญพันธุ์
dc.title.alternative Sculpture: menstrual and pain under the effect of hormonal change in women of reproductive age
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1205


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record