Abstract:
การวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวพื้นที่อันดามันสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำสำหรับจังหวัดในพื้นที่อันดามันในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว 2.เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยทดลองสร้างต้นแบบเรขศิลป์สำหรับนำไปใช้ในกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มนักท่องเที่ยว 400 คน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ 400 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด Facebook, Instagram และ Line มีความสนใจในรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) เรื่องการท่องเที่ยว กีฬาและอาหาร กีฬาที่เหมาะสมนำมาใช้โฆษณากระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล คือ กระดานโต้คลื่น เรือยืนพาย ในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่มีความเห็นว่ารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความเหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาลที่สุด ในส่วนของการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเน้นภาพลักษณ์ 11 คน ผู้ประกอบการในพื้นที่ 14 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 9 คน ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่อันดามัน 7 คน ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บข้อมูล เพื่อหาแนวทางการสร้างสื่อโฆษณา
ผลการวิจัยได้ค้นพบ 3 ประเด็นในการนำเสนอโฆษณา ได้แก่ 1.มิติด้านสังคมและวัฒนธรรม 2.มิติด้านกีฬาและการท่องเที่ยว 3.มิติด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในด้านการสื่อสารกับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ ได้แก่ มิติด้านกีฬาและการท่องเที่ยวที่ให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ค้นหาตัวตน พบกับความสุขสงบกับธรรมชาติ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับตนเองและกิจกรรมที่ทำ เชื่อมโยงสู่การกระตุ้นการท่องเที่ยว ความสนุกสนาน สร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆในการใช้ชีวิต ด้านการคัดสรรค์จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 5 ด้านดังนี้ 1. เพอนารากัน บาบ๋า 2. ช้าง 3. ปาล์ม ยางพารา 4. ชิโน โปรตุกีส 5. ทะเล หมู่เกาะน้อยใหญ่ 6.เทศกาลถือศีลกินเจ และรูปแบบด้านองค์ประกอบดังนี้ 1. ลักษณะตัวอักษร San Serif 2. สี Cool Casual 3. บุคลิกภาพแบบ Explorer 4. ภาพประกอบแบบ (visual illustration) ภาพเสมือนจริงแบบผลิตขึ้นมา
สรุปผลการวิจัยการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวพื้นที่อันดามันสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อหลักในการกระตุ้นการรับรู้ (Digital immigrant) ในด้านการคัดสรรค์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ได้นำสิ่งที่บ่งบอกถึงอันดามันเพื่อนำไปเป็นแนวทางพัฒนาด้านสัญญะในงานโฆษณาการท่องเที่ยวอันดามันในด้านการออกแบบและงานโฆษณาสำหรับการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล