DSpace Repository

ดุษฏีนิพนธ์วิจัยสร้างสรรค์การแสดงดนตรี: เทคนิคการตีความในบทเพลงเรียบเรียงใหม่สำหรับฟลูต

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
dc.contributor.author ธีรวัฒน์ รัตนประภาเมธีรัฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:06:15Z
dc.date.available 2021-09-21T06:06:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76003
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ดุษฏีนิพนธ์วิจัยสร้างสรรค์การแสดงดนตรี: เทคนิคการตีความในบทเพลงเรียบเรียงใหม่สำหรับฟลูต มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการเรียบเรียงบทเพลงสำหรับฟลูตจากนักฟลูตที่มีชื่อเสียงเพื่อนำไปสู่การปรับเทคนิคการบรรเลงจากไวโอลินให้เข้ากับการบรรเลงโดยฟลูต ในขั้นตอนการวิจัยผู้วิจัยได้ทำการแสดงเดี่ยว ในบทเพลงคอนแชร์โต สำหรับไวโอลิน โอปุส 47 ในกุญแจเสียง ดี ไมเนอร์ ประพันธ์โดย ชอง ซิเบลิอุส เรียบเรียงโดย เดนิส บอเรียคอฟ และบทเพลงโซนาตาสำหรับไวโอลิน ในกุญแจเสียง เอ เมเจอร์ ประพันธ์โดย เซซาร์ ฟรางค์ เรียบเรียงโดย ชอง-ปิแอร์ รัมปาล เพื่อศึกษาวิธีการปรับเทคนิคไวโอลินนำมาเรียบเรียงให้เหมาะสมกับการบรรเลงโดยฟลูต นำไปสู่การสร้างสรรค์บทเพลงเรียบเรียงโซนาตาสำหรับไวโอลิน ในกุญแจเสียง เอฟ เมเจอร์ ประพันธ์โดย เฟลิกซ์  เมนเดลโซน จากการศึกษาพบว่าเทคนิคในการเรียบเรียงมีความสอดคล้องกับบทเพลงเรียบเรียงที่นักฟลูตที่มีชื่อเสียงได้เรียบเรียงไว้ 3 เทคนิค คือ 1) การปรับขั้นคู่เสียงที่สูงหรือต่ำเกินไป 2) การปรับโน้ตด้วยโน้ตอื่นที่อยู่ในกุญแจเสียงเดียวกัน และ 3) การปรับเทคนิคเฉพาะสำหรับไวโอลินให้เหมาะสมสำหรับฟลูต  
dc.description.abstractalternative The objective of Doctoral flute performance: The interpreting techniques of the new transcriptions for Flute is to study the transcription techniques from the leading flutists aiming for the best possibilities in adapting playing techniques from violin to flute from Jean Sibelius’s Violin Concerto in D minor, Op. 47 arranged by Denis Bouriakov and Cesar Franck’s Violin Sonata in A Major arranged by Jean-Pierre Rampal in order to experience how the flutists adapting the violin playing techniques into flute in the most practical and musical way.  As a result, the researcher adopted the necessary techniques for transcribing Felix Mendelssohn’s Violin Sonata in F Major (1820) for flute, which employs three similar music transcription techniques evidenced in Bouriakov and Rampal’s transcriptions including 1) reducing the ranges of violin into the appropriate ranges of flute, 2) adding necessary pitches within the key area of the passages, and 3) adjusting some violin techniques to be suitable for available flute’s techniques.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.553
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การแสดงดนตรี
dc.subject ฟลูต
dc.subject Music -- Performance
dc.subject Flute
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ดุษฏีนิพนธ์วิจัยสร้างสรรค์การแสดงดนตรี: เทคนิคการตีความในบทเพลงเรียบเรียงใหม่สำหรับฟลูต
dc.title.alternative Doctoral creative research performance: the interpreting techniques of the new transcriptions for flute
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.553


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record