dc.contributor.advisor |
ขำคม พรประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
ปกรณ์ หนูยี่ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:06:29Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:06:29Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76030 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติ ผลงาน และหาอัตลักษณ์ทางดนตรีครูดนตรีบ้านพาทยโกศล 6 ท่าน เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องกัลยาณมิตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์โดยศึกษาข้อมูลเอกสารเรื่องแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์องค์ความรู้จากทายาทบ้านพาทยโกศลและผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย
ผลการวิจัยพบว่าครูดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลทั้ง 6 ท่าน เป็นครูดนตรีท่านสำคัญของวงการดนตรีไทยที่สืบทอดวิชาความรู้ดนตรีไทยมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งยังเข้มงวดระเบียบวิธีบรรเลงและขับร้องอย่างโบราณอย่างเคร่งครัด เรื่องอัตลักษณ์ทางดนตรีทั้ง 6 ท่านมีอัตลักษณ์ส่วนตัวทางดนตรีที่แตกต่างกัน แต่มีอัตลักษณ์ร่วมเดียวกัน ได้แก่ การแบ่งมือทำนองหลัก วิธีการบรรเลง กลวิธีการขับร้อง และวิธีการประพันธ์
การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องกัลยาณมิตร แบ่งการประพันธ์ออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. การประพันธ์บทร้อง ใช้ผลการวิจัยส่วนของชีวประวัติและผลงานทางดนตรี ตลอดถึงการสัมภาษณ์จากบุคคลที่เกี่ยวข้องมาประพันธ์ในลักษณะของกลอนสุภาพ 2. การประพันธ์ทำนอง ใช้ผลการวิจัยในส่วนของอัตลักษณ์ทางดนตรีของแต่ละท่านมาเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์ 3. การประพันธ์ทางขับร้อง ใช้กลวิธีการประพันธ์การขับร้องจากผลการวิจัยการประพันธ์ทางขับร้องเพลงวาของคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) มาเป็นแนวทางในการประพันธ์ทางขับร้องทั้ง 6 เพลง นอกจากนี้ยังสอดแทรกอัตลักษณ์ร่วมทางดนตรีของบ้านพาทยโกศล วิธีการขับร้อง และบรรเลงเพื่อให้ได้อรรถรสทางดนตรีตามแนวทางที่บ้านพาทยโกศลสืบทอดไว้จนถึงปัจจุบัน |
|
dc.description.abstractalternative |
This study is focused on the Phattayakosol music academy with two main objectives: 1) Historiography works on biographies, composition data, and music analysis of 6 outstanding artists of the academy. 2) Creative work a new musical suite “TUB RUENG KANLAYANAMIT” based on Phatayakosol style. Data in this qualitative creative research is conducted by interview resource persons, documentary collections, and utilizing music theory that related to Phatayakosol music academy. The findings of the historical study show that 1) music icons of Phatayakosol academy are all played an essential role throughout the Rattanakosin period, and their musical abilities and knowledge are well preserved among their students from generation to generation. 2) There is a unique musical style represented in original compositions and performance techniques. However, each generation could have its own identity, which still maintains its roots. The creative composition TUB RUENG KANLAYANAMIT consists of 6 successive songs which applying three techniques of creation: 1) A new poetic song text describing the biography of 6 artists of the academy, 2) the new melodies inspired by the understanding of Phatayakosol musical style, 3) the mixed singing style which apply original techniques of Khunying Paitoon Kittiwan combined with the researcher’s interpretations. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1194 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การแต่งเพลง |
|
dc.subject |
Composition (Music) |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องกัลยาณมิตร |
|
dc.title.alternative |
Music composition: tub Rueng Kanlayanamit |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1194 |
|