dc.contributor.advisor |
ปภัสสรา ชัยวงศ์ |
|
dc.contributor.author |
ปรภัค จุละพันธ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:12:02Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:12:02Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76081 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่น และ 2) แนวทางการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยประเภทมุ่งแสวงผลกำไร ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ที่ทำงานในองค์กรเอกชนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป จนถึงระดับอาวุโส จำนวน 10 คน ทั้งนี้เลือกศึกษาจากองค์กร 5 แห่ง โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างรุ่นอายุใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นงาน (ได้แก่ ความแตกต่างด้านค่านิยมในการทำงาน แนวทางปฏิบัติในการทำงาน ความเห็นต่อแนวทางการบริหารจัดการขององค์กร) และประเด็นความสัมพันธ์ (ได้แก่ ความแตกต่างด้านอุปนิสัยและสไตล์การสื่อสาร) ส่วนการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างคนต่างรุ่น กลุ่มตัวอย่างมักใช้รูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่ผสมผสานโดยคำนึงถึงลักษณะประเด็น ลักษณะงาน ลักษณะความสัมพันธ์กับคู่ขัดแย้ง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยแนวทางที่มักเลือกใช้ ได้แก่ ใช้การร่วมมือ (Collaborating) เมื่อความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่องานและความสัมพันธ์สูง ต่างฝ่ายต่างยืนยันเป้าหมายแต่มีลักษณะการสื่อสารที่รักษาน้ำใจ มุ่งสร้างความไว้วางใจ หรือ ประนีประนอม (Compromising) เมื่อทั้งสองฝ่ายมีอำนาจต่อรองเท่าๆ กัน แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงต้องยอมลดเป้าหมายเพื่อรักษาทั้งผลงานและความสัมพันธ์ แต่หากอำนาจต่อรอง (เช่น ตำแหน่ง อาวุโส) ต่างกัน ฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่ามักยินยอม (Accommodating) ทั้งเพื่อรักษาความสัมพันธ์และหวังประโยชน์ในอนาคต และจะหลีกเลี่ยง (Avoiding) เมื่อประเมินว่าตนไม่มีโอกาสชนะ และผลกระทบของการสื่อสารทั้งต่องานและความสัมพันธ์จะเป็นไปในทางลบ |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this qualitative research were to study 1) characteristics of intergenerational workplace conflicts and 2) communication in conflict management between different generational cohorts in Thai profit organizations. Employing volunteer sampling, in-depth interviews with 10 employees, having been working for at least 3 years in 5 large Thai-profit organizations, from operational level to senior level were conducted.
The results revealed that the characteristics of intergenerational workplace conflicts in Thai-profit organizations were related 2 domains: 1) work-related or substantial domain, which the conflicts were due to differences in terms of work-related values, work procedures, and opinions towards the corporate values and practices; 2) relationship-related or affective domain, which the conflicts were due to differences in terms of individual’s characters and communication styles. As for the communication in conflict management, blended approach was applied, depending on type of issue, job/task characteristics, type of relation, and consequence assessment. For instance, collaborating was employed when the conflict highly affected both work and relationship; the both sides were assertive while still carefully communicated to maintain their relationship and build mutual trust. Compromising was employed when both sides had equal power, yet were not able to agree; so they decided to yield in some areas for the sake of work-continuity and relationship, however, if participants in the conflict had different power (i.e. position, seniority), those who were inferior usually used accommodating approach for the sake of relationship and future benefits, and even applied avoiding approach if they had no chance to win or were aware of the negative consequences. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.773 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ความขัดแย้งของรุ่นวัย |
|
dc.subject |
การสื่อสาร -- แง่จิตวิทยา |
|
dc.subject |
Conflict of generations |
|
dc.subject |
Communication -- Psychological aspects |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยประเภทแสวงผลกำไร |
|
dc.title.alternative |
Intergenerational communication for conflict management in Thai profit organizations |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.773 |
|