DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อในที่ทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันเอกซ์และวาย ในองค์กรเอกชนไทยที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
dc.contributor.author ทัศนวรรณ มานัสวิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:12:08Z
dc.date.available 2021-09-21T06:12:08Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76092
dc.description สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อในที่ทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในองค์กร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการสื่อสารภายในองค์กร ให้พนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัดที่มีอายุงาน 3 เดือนขึ้นไป แบ่งเป็นพนักงานเจเนอเรชันเอกซ์ 100 คน และพนักงานเจเนอเรชันวาย 100 คน รวม 200 คน เพื่อเป็นการวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการใช้สื่อในที่ทำงาน พนักงานเจเนอเรชันเอกซ์มีความถี่แตกต่างจากพนักงานเจเนอเรชันวายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ระยะเวลาเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2) ในด้านความพึงพอใจต่อการใช้สื่อในที่ทำงาน พนักงานเจเนอเรชันเอกซ์มีความพึงพอใจไม่แตกต่างจากพนักงานเจเนอเรชันวาย 3) พนักงานเจเนอเรชันเอกซ์ มีแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างจากพนักงานเจเนอเรชันวาย 4) ด้านการใช้สื่อในที่ทำงาน พนักงานเจเนอเรชันเอกซ์มีความถี่ และระยะเวลาเฉลี่ยไม่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงาน ในขณะที่พนักงานเจเนอเรชันวายมีความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาเฉลี่ยและแรงจูงใจในการทำงาน 5) ในด้านความพึงพอใจต่อการใช้สื่อในที่ทำงาน พนักงานเจเนอเรชันเอกซ์ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน ในขณะที่พนักงานเจนเนอเรชันวายมีความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the relationship between internal media usage and working motivation of employees in the organization for internal communication planning which aim to enhance all employees working together as efficiently as possible. This research was quantitative research conducting online questionnaire for data collection from respondents who work for 3 months and up in Tri Petch Isuzu Sales Co., Ltd. The total 200 respondents divided into Generation X and Y 100 people each for pilot research. The results of the research showed that 1) in terms of internal media usage, frequency of Generation X was significantly different from Generation Y, while duration had no difference. 2) internal media usage satisfaction of Generation X was not different from Generation Y. 3) the working motivation of Generation X was not different from Generation Y. 4) in terms of internal media usage, frequency and duration of Generation X was not correlated with working motivation while frequency of Generation Y was significantly correlated with working motivation but there was no correlation between duration and working motivation. 5) in terms of internal media usage satisfaction, Generation X had no correlation between satisfaction and working motivation. Meanwhile, satisfaction of Generation Y was significantly correlated with working motivation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.328
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject วัฒนธรรมองค์การ -- ญี่ปุ่น
dc.subject การจูงใจในการทำงาน
dc.subject การสื่อสารในองค์การ
dc.subject Corporate culture -- Japan
dc.subject Employee motivation
dc.subject Communication in organizations
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อในที่ทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันเอกซ์และวาย ในองค์กรเอกชนไทยที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น
dc.title.alternative Relationship between internal media usage and employee motivation of generation X and Y employees in Thai private organizations with Japanese working culture
dc.type Independent Study
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.328


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Comm - Independent Studies [117]
    สารนิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record