DSpace Repository

การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนสิน ชุตินธรานนท์
dc.contributor.author ธวัช เวศตัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:12:09Z
dc.date.available 2021-09-21T06:12:09Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76094
dc.description สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องการออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อวิเคราะห์การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ (2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)  ผลวิจัยพบว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤตดังกล่าว ในการสื่อสารกับประชาชนนั้น การออกแบบสารประกอบไปด้วยการให้ข้อมูล และการโน้มน้าวใจในกระบวนการออกแบบสารนอกจากการเลือกประเด็นที่นำเสนอโดยคณะทำงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ มีลักษณะสร้างความเข้าใจในปัญหา โดยมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้แนวคิดการสื่อสารจากแหล่งเดียวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะสามารถควบคุมความถูกต้องของเนื้อหา สร้างความชัดเจนในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่ทีมงานออกแบบสาร ของ ศบค. ได้จัดทำไว้ ส่วนเนื้อหา มีลักษณะสร้างความเข้าในในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่รัฐบาลได้เตรียมไว้ ซึ่งการรายงานข้อมูลเท็จจริง สารต้องมีความน่าสนใจ เข้าถึงได้ง่าย สามารถตีความได้ ประมวลผลได้ ทําให้ผู้รับสารมีความเข้าใจในความหมายที่สารกํากับไว้ได้ และส่วนสรุป มีลักษณะเป็นการนำเสนอแนวทางแก้ไข สร้างทัศนคติให้ผู้รับสารได้ตระหนักถึงความอันตรายกับเหตุการณ์การแพร่ของโรคระบาดที่เกิดขึ้น ผู้ออกแบบสารจะต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เพราะสารที่รออกแบบย่อมส่งกระทบกับผู้รับสารนอกเหนือจากความเข้าใจในสารที่ตรงแล้ว สารนั้นจะต้องสร้างความรู้ สร้างการรับรู้ และสร้างทัศนคติกับผู้รับสาร แล้วยังมีการใช้ทำเนียบภาษาทางการแพทย์ และสาธารณสุข รวมถึงการใช้คำคล้องจองอีกด้วย
dc.description.abstractalternative This research is qualitative research that uses content analysis and an in-depth Interview study on the message design in crisis communication of the Center for COVID 19 situation administration for 2 reasons. (1) To analyze the message design in crisis communication of the Center for COVID 19 Situation Administration. (2) To analyze linguistic strategies the message design in crisis communication of Center for COVID 19 Situation Administration. The research found that when the Coronavirus disease 2019 pandemic crisis occurred, the government set up the Crisis Communication of Center for COVID 19 Situation Administration to manage the crisis and say in communicating with the public. The message design of the substance consists of providing information and persuasion in the substance design process in addition to the selection of issues presented by the working group which can be consist into 3 parts. First, the introduction has the characteristics of creating an understanding of the problem with urgent need using the official single-source communication concept which will be able to control the authenticity of the content create clarity in effective communication with principles that the message design team has prepared. Second, the content is characterized by creating an understanding of the crisis that occurs including the approaches to solving problems that the government has prepared which reporting false information. The substance must be interesting and easy to access. It can be interpreted, processed so that the audience can understand the meaning of the message. Third, the summary section presents a solution to create an attitude for the audience to be aware of the dangers of the pandemic spreading event. The substance designer must verify the accuracy of the information because the designed substance will affect the recipient in addition to understanding the substance directly. That substance must create knowledge create awareness and create an attitude with the audience. There is also the use of medical and public health directory, including the use of rhyming words.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.324
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การสื่อสารในการจัดการภาวะวิกฤต
dc.subject การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
dc.subject Communication in crisis management
dc.subject COVID-19 Pandemic, 2020-
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
dc.title.alternative Message design in crisis communication of center for COVID-19 situation administration
dc.type Independent Study
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.324


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Comm - Independent Studies [117]
    สารนิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record