Abstract:
จากการทดสอบหลอดแอลอีดี (LEDs) พบว่า ความยาวคลื่นแสงในช่วง PAR มี ปริมาณโฟตอนแสงสม่ำเสมอน้อยกว่าแสงอาทิตย์, การกระจายแสงเป็นแบบกระจุกเมื่ออยู่ชิดแต่ กระจายเมื่ออยู่ห่าง, และเป็นอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของช่วง ความยาวคลื่นแสง, มุมองศาแผ่นสะท้อนแสง, และพลังงานทดแทน ต่อลักษณะการเจริญเติบโตของพืช เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช โดยใช้หลอดแอลอีดี R: G: B = 2.04 : 2.12 : 1.00 , R: G: B = 1.47: 1.83: 1.00 และ 2.53: 2.67: 1.00 เปรียบเทียบกับ แสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11: 1.20: 1.00 ร่วมกับมุมองศาแผ่นสะท้อนแสงทามุม 60◦ และ 90◦ จากระนาบพื้น และระบบโซลาเซลล์กระแสตรงเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา โดยศึกษา Cannabis sativa L. (กัญชา) เป็นข้อมูลตั้งต้นและเลือก Tagetes erecta L. (ดาวเรือง) เป็นพืชตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ช่วงความยาวคลื่นแสงของแสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11 : 1.20 : 1.00 ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกมากที่สุด, แผ่นสะท้อนแสงทำมุม 60◦ จากระนาบพื้น ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลเพิ่มขึ้นทุกส่วน และกัญชามีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกเพิ่มขึ้น, รวมถึงการใช้ระบบโซลาเซลล์กระแสตรงสำหรับปลูกพืชมีประสิทธิภาพในการสร้างมวลเฉลี่ย 83% จากไฟบ้าน โดยมีการค้นพบหลักการสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนแสงเข้าสู่ด้านข้างของต้นพืช เมื่อต้นพืชได้รับแสงบริเวณใต้ใบเพิ่มขึ้น จะไปกระตุ้นรงควัตถุดูดซับแสงในชั้น Spongy mesophyll บริเวณใต้ใบที่มีสัดส่วนค่าการสังเคราะห์เป็น 62% ของการได้รับแสงเหนือใบ ส่งผลทำให้ ต้นพืชมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น