DSpace Repository

ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563

Show simple item record

dc.contributor.advisor พีรศรี โพวาทอง
dc.contributor.author วีระภัทร์ กระหม่อมทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:17:07Z
dc.date.available 2021-09-21T06:17:07Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76154
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความเปลี่ยนแปลงของผังกายภายในโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อน การศึกษาประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะผังกายภาพของโรงพยาบาลทั้งสองแห่งในช่วงเวลาต่าง ๆ การสังเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดทำผังจำลองและข้อมูลประกอบที่มีรูปแบบเดียวกันเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกรอบในการวิเคราะห์ 4 ประเด็น คือ (1) ที่ดิน (2) การจัดอาคาร ที่ว่าง และทางสัญจร (3) ขนาดอาคารและที่ว่าง และ (4) การแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลการวิจัยพบว่า ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งมีความเปลี่ยนแปลงแบ่งได้เป็น 6 ช่วง จากผังที่มีอาคารขนาดเล็กใช้การระบายอากาศแบบธรรมชาติ มาเป็นผังที่มีอาคารขนาดใหญ่พิเศษใช้การระบายอากาศด้วยเครื่องกล โดยมีข้อค้นพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งที่แล้วมาเกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ (1) ขนาดที่ดิน โดยเฉพาะโรงพยาบาลศิริราชที่มีการขยายขอบเขตที่ดินหลายครั้ง (2) วิธีการระบายอากาศที่ทำให้ผังกายภาพในช่วงแรกมีที่ว่างระหว่างอาคาร (3) วิธีการเข้าถึงโรงพยาบาล จากที่เคยมีทางสัญจรทางน้ำ มาเพิ่มความสำคัญของการเข้าถึงทางถนน และการสร้างสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เกิดทางเข้าใหม่ และถนนภายใน (4) ขนาดและความสูงอาคารที่สามารถก่อสร้างได้ใหญ่และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รวมประโยชน์ใช้สอยที่เคยกระจายอยู่ในอาคารที่เล็กกว่าได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดระเบียบการแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินมักจะเกิดขึ้นหลังจากการจัดทำผังแม่บท และโรงพยาบาลทั้งสองแห่งต่างมีแนวความคิดทางด้านการอนุรักษ์อาคาร ทำให้ผังกายภาพยังคงมีอาคารขนาดเล็ก แม้ว่าจะสามารถสร้างอาคารได้กว่า 100,000 ตร.ม.แล้ว
dc.description.abstractalternative This thesis proposed to study physical planning of Siriraj and King Chulalongkorn Memorial Hospitals, large medical school’s hospitals with long history, to understand characteristics and changes in complicated hospitals. The study consisted of data collecting about physical planning in various times, data compiling by creating mock-up plan and supporting data in the same format, data analysis using 4 frameworks: (1) site (2) arrangement of buildings, space, and circulation (3) size of building and open space (4) land use zoning. The thesis reveals that the characteristics and changes of physical planning of two hospitals could be divided into 6 periods, from small building plan using natural ventilation to large building plan using mechanical ventilation. In addition, physical plans were changed by four major factors: (1) size of site, especially, Siriraj hospital which was expanded several times (2) ventilation method which affected early period plan to have space between buildings (3) travelling methods: waterway, roadway, and sky railway which affected plan to have internal roads and new entrances (4) larger and higher building, affected plan to combine similar function buildings. Besides, their land use zonings were often arranged after masterplan had been planed. Also, their building conservation concept affected small buildings to remain although more over 100,000 m2 building could be built.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1232
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรงพยาบาลศิริราช
dc.subject โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
dc.subject โรงพยาบาล -- ภูมิสถาปัตยกรรม
dc.subject Siriraj Hospital
dc.subject King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.subject Hospitals -- Landscape architecture
dc.subject.classification Engineering
dc.title ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563
dc.title.alternative Change of physical planning in Siriraj and King Chulalongkorn memorial hospitals, 1888-2020
dc.type Thesis
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1232


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record