DSpace Repository

อิทธิพลของดนตรีพื้นหลังที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์กรณีศึกษา: สภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
dc.contributor.author ประพจน์ สมรรถไท
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:17:09Z
dc.date.available 2021-09-21T06:17:09Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76157
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของดนตรีพื้นหลังต่ออารมณ์ ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์ ในสภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำ S-O-R Model มาใช้ในการเปรียบเทียบพื้นที่ทำงานร่วมกันที่มีดนตรีพื้นหลัง และไม่มีดนตรีพื้นหลัง โดยแนวดนตรีที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวดนตรี Jazz Bossa Nova แนว Classic และแนว Rock ซึ่งเล่นในอัตราจังหวะดนตรีที่ Adagio และ Allegro เก็บรวบรวมข้อมูลการตอบสนองทางอารมณ์ ประสิทธิภาพความจำและความคิดสร้างสรรค์จากผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 224 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้ดนตรีแนว Jazz Bossa Nova แนว Classic และแนว Rock มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความจำและความคิดสร้างสรรค์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีดนตรีพื้นหลัง และผลการวิจัยแสดงว่าดนตรีแนว Jazz Bossa Nova อัตราจังหวะดนตรี Allegro tempo เหมาะสมกับการส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมในเชิงบวกในขณะที่ดนตรีแนว Classic อัตราจังหวะดนตรี Allegro ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพความจำและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกในเชิงบวก และงานวิจัยนี้เสนอว่า ในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมปัจจัยด้านเสียงดนตรีพื้นหลังแนวอื่น การมีคำร้องในเสียงดนตรี และปัจจัยความชื่นชอบส่วนบุคคล
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the influence of the background music on emotion, feeling, memory and creativity in co-working space environment. This experimental research applied the S-O-R model in comparison co-working space with and without background music. The genres music used in the experiment were Jazz Bossa Nova, Classic and Rock, which were played at Adagio and Allegro tempo. Emotional responses, memory and creativity performance were gathered from 244 research participants. The results showed that Jazz Bossa Nova, Classic and Rock music used in experimental groups influenced positive of emotions perception, feeling, memory and creativity in comparison to controlled group without background music. The results showed that Jazz Bossa Nova music at Allegro tempo fit for promoted positive environmental perception while Classic music at Allegro tempo promoted memory and creativity performance which was related to positive emotions perception and feeling. This research suggested that further study should investigate other background music characteristics the music genres, the presents of lyric and personal music preferences.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1235
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ดนตรีในที่ทำงาน
dc.subject Music in the workplace
dc.subject.classification Engineering
dc.title อิทธิพลของดนตรีพื้นหลังที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์กรณีศึกษา: สภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน
dc.title.alternative The effect of background music on emotion and memory divergent thinking performance, case study: co-working space
dc.type Thesis
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1235


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record