DSpace Repository

กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด-19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2563

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุษรา โพวาทอง
dc.contributor.author ภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:17:27Z
dc.date.available 2021-09-21T06:17:27Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76182
dc.description วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วงปี พ.ศ. 2563 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการเลือกใช้กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 28 บริษัท แบ่งเป็น 3 ขนาด ตามสินทรัพย์รวม ได้แก่ บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เก็บข้อมูลจากข่าวสารการปรับตัวของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ทุกบริษัท และบทสัมภาษณ์เชิงลึกจากบริษัทฯ กรณีศึกษา แต่ละขนาด จำนวน 3 บริษัท โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการคัดแยกข้อความสำคัญเชิงการปรับตัวในเนื้อความข่าว และวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นของผลกระทบที่ได้รับ การเลือกใช้และลักษณะของกลยุทธ์การปรับตัว รวมไปถึงผลจากการใช้กลยุทธ์การปรับตัว เพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้อุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลง โดยมาตรการ ล็อกดาวน์ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคเกิดความกังวลและความไม่มั่นคงทางรายได้ มีการควบคุมค่าใช้จ่าย และเกิดภาวะการหดตัวของกำลังซื้อในที่สุด ส่งผลกระทบต่อบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ในด้านการวางแผน การตลาด การเงิน และการทำงานองค์กร ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การปรับตัว 2) บริษัทพัฒนาอสังหาฯ มีการใช้กลยุทธ์การปรับตัว 5 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการวางแผน, ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, ด้านการทำงานองค์กร และด้านการป้องกันโควิด-19 โดยแบ่งเป็น 10 หมวดหมู่ 42 วิธีการ ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดกว่าร้อยละ 50 ของการเลือกใช้กลยุทธ์ทั้งหมด 3) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 3 ขนาด เลือกใช้หมวดกลยุทธ์หลัก 2 หมวดเหมือนกัน ได้แก่หมวดส่วนผสมทางการตลาดและหมวดการวางแผนการลงทุน ซึ่งมีอัตราส่วนมากกว่าร้อยละ 45 โดยเฉพาะวิธีการปรับตัวเชิงลึกในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการตลาด, การลงทุนเปิดตัวโครงการ และการเน้นลงทุนโครงการแนวราบ 4) การที่บริษัทฯ กรณีศึกษา เลือกใช้วิธีการปรับตัวเชิงลึกในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการตลาด, การเน้นลงทุนโครงการแนวราบ และการปรับราคาสินค้า สามารถรักษาผลประกอบการได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยการกระจายพื้นที่การลงทุน และการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจไว้ล่วงหน้า มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะวิกฤต งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึง สถานการณ์และการปรับตัวของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ เพื่อความอยู่รอดและรับมือกับภาวะวิกฤตการณ์แพร่ระบาด โควิด-19 ระลอก 1 พ.ศ. 2563 ทั้งนี้การเลือกใช้กลยุทธ์สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดอสังหาฯ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานต่อไปได้ในภาวะวิกฤต โดยมีลักษณะของการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมือนและแตกต่างกันตามขนาดของบริษัท  สิ่งสำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานของแต่ละบริษัทฯ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ภาครัฐ และผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นบทเรียนและแนวทางในการรับมือ ของการดำเนินธุรกิจเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้นอีกครั้งในอนาคต
dc.description.abstractalternative The study examines the adaptation strategy of real estate development companies in response to the COVID-19 pandemic during the year 2020. The spread of the pandemic has directly impacted real estate business causing a significant sales decrease in the top business group of the stock market, which has resulted in the need for adaptation strategies in order to stay in business.  The research has gathered information from 28 real estate companies on the Thai stock market, which are further divided by their total assets into three categories, large, medium, and small businesses. Information regarding adaptation strategies has been further gathered from news sources and in-depth interviews from case studies of 3 companies during the pandemic by analysing noteworthy news stories and comparing the old strategy with the new.  Four main findings of the study are as follows. 1) The spread of COVID-19 has decreased both demand and supply of real estate. The lockdown policy has further slowed down the economic growth of both domestic and international markets. Additionally, the deriving uncertainty has caused income instability which, in turn, has made people more cautious to spend. By decreasing purchasing power of the general populace, the operations and income of these companies are impacted. 2) The study has found that there are five main categories in which companies adapt, which are strategic, marketing, finance, operation, and preventative measures for COVID-19 pandemic, classified into 10 groups and 42 implementations. Of all the measures, it was found that marketing and strategic adaptation accounted for more than half of the measures chosen by these companies. 3) All three company sizes have chosen the two main strategies in the same way, which is a mixed marketing strategy and financial planning, accounting for more than 45%. In particular, they have chosen the advanced adaptation of marketing events, investment in launching new projects, and focusing on the low-rise residences. 4) The way that the companies from the case studies have reflected the results and exceeded the average number in terms of advanced adaptation, including marketing events, low-rise investments and pricing reductions. The factors that relieved the risk from the crisis are investment distribution and prior Business Continuity Planning in advance. In conclusion, this research demonstrates the situation and adaptation of real estate companies to tackle the crisis of the COVID-19 pandemic, first impacting in 2020. Each countermeasure reflected the imperative of adaptation to the fluctuating state of the housing market, for the purpose of progressing the business within a crisis. The selection of their adaptation strategy during times of crisis varies according to the size of their asset. The key factor is to utilize the strategy that fits best with their operation. The result of this research will be useful to real estate company owners, government agencies, as well as those who are interested, as a way to handle and operate a business during a time of crisis.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.572
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- การบริหาร
dc.subject การบริหารธุรกิจ
dc.subject Real estate business -- Administration
dc.subject Business administration
dc.subject.classification Business
dc.title กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด-19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2563
dc.title.alternative Adaptation strategies for the business impact of COVID-19 on set- registered real estate development companies in 2020
dc.type Thesis
dc.degree.name เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.572


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record