Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องเชิงพยากรณ์ของแบบประเมินอันตรายจากบ้านชนิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบประเมิน Thai Home Fall Hazard Assessment Tool (Thai-HFHAT) และชนิดที่ผู้วิจัยแปลผลงานวิจัยต่างประเทศ คือ แบบประเมิน Modified Home Falls and Accidents Screening Tool (Modified HOME FAST) และ แบบประเมิน Modified Home Falls and Accidents Screening Tool-Self Report (Modified HOME FAST-SR) ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ ≥ 60 ปี จำนวน 450 คน ทำการติดตามกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 ปี ใช้สถิติ Cox's proportional hazard model ในการประมาณค่าอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Hazard Ratios: HR) วิเคราะห์พื้นที่ใต้โค้ง receiver operating characteristic (ROC) และ วิเคราะห์ความตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) ประกอบด้วย sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value, Likelihood Ratio ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 450 คน มีอุบัติการณ์ของการเกิดการล้มรายใหม่ 123 ราย คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 27.33 (95% CI: 22.72, 32.61) ต่อปี นับเป็นจำนวนครั้งทั้งสิ้น 334 ครั้ง จากจำนวนที่ศึกษาทั้งหมด 784 ครั้ง ในระยะติดตาม 163,550 ครั้ง-วัน คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 2.04 (95% CI: 0.06, 12.38) ครั้ง ต่อ 1000 คน-วัน หลังจากประเมินด้วยแบบประเมินอันตรายจากบ้านพบว่า แบบประเมิน Thai-HFHAT ฉบับเต็ม (69 ข้อ) แบบประเมิน Thai-HFHAT ฉบับคัดกรอง (44 ข้อ) และแบบประเมิน Thai-HFHAT ฉบับคัดกรอง (27 ข้อ) มีอัตราความเสี่ยงต่อการล้ม คือ Adjusted HR = 1.20 (95% CI: 1.15, 1.25) Adjusted HR = 1.26 (95% CI: 1.20, 1.33) และ Adjusted HR = 1.35 (95% CI: 1.28, 1.43) ตามลำดับ ส่วนแบบประเมิน Modified HOME FAST-SR และแบบประเมิน Modified HOME FAST มีอัตราความเสี่ยงต่อการล้ม คือ Adjusted HR = 1.17 (95% CI: 1.13, 1.22) และ Adjusted HR = 1.15 (95% CI: 1.12, 1.17) ในขณะที่แบบประเมิน Thai-FRAT พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบประเมินกับการล้มของกลุ่มของตัวอย่าง (Adjusted HR = 1.04 (95% CI: 0.99, 1.09) จากการวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าแบบประเมิน Thai-HFHAT (44 ข้อ) น่าเป็นแบบประเมินที่สามารถทำนายการหกล้มของกลุ่มตัวอย่างได้ดีที่สุด และแบบประเมิน Thai-HFHAT (69 ข้อ) น่าจะเป็นแบบประเมินที่ใช้ในการคัดกรองการหกล้มได้ดีที่สุด การสร้างแบบประเมินจากการทบทวนวรรณกรรม และ มีการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมินที่ครบทั้ง 5 ด้าน จะเป็นประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงการหกล้มของผู้สูงอายุและนำไปสู่การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านของประชากรไทยได้อย่างเหมาะสม