Abstract:
นิสิตแพทย์เป็นกลุ่มประชากรที่เป็นกำลังขับเคลื่อนกระบวนการสาธารสุขไทยในอนาคต ทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิต เป็นรากฐานสำคัญต่อสุขภาวะที่ดีของนิสิตแพทย์ที่ต้องเผชิญกับความกดดันจากการเรียนการทำงาน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิต เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิต เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิต และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิตของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลกับ กลุ่มตัวอย่างนิสิตชั้นปีที่ 1 ถึง 6 ที่มีสภาพนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบ Likert scale 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกเข้ารับบริการทางสุขภาพจิต แบบสอบถามวัดแรงจูงใจในการเรียนแพทย์ แบบวัดกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก แบบประเมินทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิต สถิติที่ใข้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์การแปรปรวน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิตมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.55 – 2.78 ทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิตมีความแตกต่างในตัวแปร เพศ ชั้นปี ความเพียงพอของรายได้ บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยจิตเวช บุคคลที่รู้จักเป็นผู้ป่วยจิตเวช การออกกำลังกาย เวลาพักผ่อนโดยเฉลี่ยต่อวัน และการมีโรคประจำตัวและ แหล่งให้บริการทางสุขภาพจิต ทัศนคติต่อการรับบริการทางสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการเรียนแพทย์ กลวิธีในการเผชิญความเครียดเชิงรุก พฤติกรรมการเลือกเข้ารับบริการทางสุขภาพจิต และสมมการการถอดถอย ได้แก่ การเปิดรับทางจิตใจ = 1.15 + 0.313กลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก - 0.26เพศ - 0.322บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยจิตเวช + 0.187 การเตรียมความพร้อม - 0.240เกรดเฉลี่ย - 0.214พฤติกรรมการเลือกเข้ารับบริการทางสุขภาพจิต - 0.110ความมั่นคง