Abstract:
ภูมิหลัง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสที่จะเกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานได้ง่ายกว่าผู้ป่วยปกติ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ในผู้ป่วยเบาหวานมีความหลากหลายค่อนข้างสูงในแต่ละการศึษา
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่จะทำนายอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน
วิธีการศึกษา
การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ได้จัดทำในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่ง ในประเทศไทย, มาเลเซีย และเมียนมาร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ.2019 ผลที่ต้องการศึกษาคืออัตราการรอดชีวิต ปัจจัยทำนายที่นำมาวิเคราะห์ ได้แก่ อายุ, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในเลือด, ภาวะเลือดเป็นกรดคีโต, ระดับเม็ดเลือดขาว, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน, การใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน, ระดับครีเอทีนีนในเลือด, และการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่ตา, คาเวอร์นัสไซนัส และโพรงสมอง
ผลการศึกษา
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน 65 ราย (อายุเฉลี่ย 57.9±13.4 ปี, เพศชาย 60%) ผลพบว่า อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 21.5 % โดยพบว่าการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าคาเวอร์นัส ไซนัส (hazard ratio 5.1, 95% CI [1.4–18.2], p=0.01) และโพรงสมอง (hazard ratio 3.4, 95% CI [1.1–11.3], p=0.05) เป็นปัจจัยทำนายอัตราการเสียชีวิต ส่วนการรักษาเบาหวานเป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต (hazard ratio 0.2, 95% CI [0.1–0.9], p=0.03) ด้านอัตราการรอดชีวิตในระยะเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยที่มีการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปและไม่เข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสอยู่ที่ 51.4% และ 83.6% ตามลำดับ, (p <0.01), เข้าไปและไม่เข้าไปที่โพรงสมองอยู่ที่ 53.3% และ 88.9% ตามลำดับ, (p <0.01) และมีการใช้ยารักษาเบาหวานและไม่มีการใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ที่ 82.3% และ 57.5% ตามลำดับ, (p =0.05)
สรุป
การกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสและโพรงสมองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน การรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กับการใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน