dc.contributor.advisor |
ศริญญา ภูวนันท์ |
|
dc.contributor.author |
นิธิ โตควณิชย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:28:52Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:28:52Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76314 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
ที่มา: Growth differentiation factor 15 (GDF15) เป็นดัชนีทางชีวภาพตัวใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบขึ้นโดยสารตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาจากเซลล์เพื่อตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
มีการศึกษาถึงประโยชน์ของสาร GDF15 ในการพยากรณ์โรคต่างๆอาทิ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation และ โรคลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดปอด แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ
วัตถุประสงค์: การศึกษาวิจัยนี้ถูกจัดทำเพื่อประเมินหาความสัมพันธ์ของระดับ GDF 15 ในเลือดกับการเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อหัวใจในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ (acute cardiac allograft rejection) โดยการวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อ
วิธีการวิจัย: จำนวนชิ้นเนื้อที่สามารถเก็บรวบรวมได้ทั้งหมด 115 ชิ้นจากผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ 37 คนในระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2019 วิธีการเก็บเลือดเพื่อหาค่า GDF 15 นั้นจะทำก่อนการตัดชิ้นเนื้อหัวใจ สาร GDF15 จะถูกนำไปแช่แข็งและวิเคราะห์โดยวิธี Elecsys® assay (บริษัทโรช ประเทศเยอรมันดี) ชิ้นเนื้อหัวใจ 112 ชิ้นจากทั้งหมดถูกนำมาเปรียบเทียบกับสาร GDF15 ในเลือด สำหรับเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะต่อต้านเนื้อเยอะแบบเฉียบพลันนั้นทางผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานจากสมาคมเปลี่ยนถ่ายหัวใจและปอดปี 2004 และจากชิ้นเนื้อทั้งหมด 112 ชิ้น มี 60 ชิ้นได้จากผู้ป่วยใหม่ท่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้เก็บตัวอย่าง GDF15 ก่อนการเปลี่ยนหัวใจของผู้ป่วยจำนวน 9 คน อีกด้วย
ผลการวิจัย: จากตัวอย่างจำนวน 112 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของสาร GDF15 ในเลือดคือ 1,818 pg/ml (IQR: 510-100000 pg/ml) ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อยู่ที่18 สัปดาห์ (IQR: 1-267 สัปดาห์) จากผลชิ้นเนื้อทั้งหมด มีชิ้นเนื้อที่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อแบ่งตามระดับความรุนแรงดังนี้ 0R = 92 (83%), 1R= 18 (16%) และ 2R = 1 (1%) การศึกษาพบว่าระดับ GDF15ในเลือด หลังการเปลี่ยนหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับการต่อต้านเนื้อเยื่อแบบเฉียบพลัน สำหรับในผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจทั้งหมด 60 ตัวอย่างจากผู้ป่วย 11 คนมีการค้นพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับ GDF 15 อยู่ที่ 2,255 pg/ml (IQR: 567-100,000 pg/ml) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้ออยู่ที่ 6 สัปห์ดา (IQR: 1-31 สัปดาห์) จากการสึกษาพบว่าระดับของ GDF15ในเลือดหลังการผ่าตัดค่อยๆต่ำลงจนต่ำสุดในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากนั้นจะสูงขึ้นอีกรอบในสัปห์ดาที่ 4 สำหรับตัวอย่าง GDF15 จำนวน 9 ตัวอย่างซึ่งเก็บจากผู้ป่วยก่อนได้รับการเปลี่ยนหัวใจ ค้นพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตายและการใช้อุปกรณ์พยุงหัวใจ (p=0.0004) โดยมีค่า GDF15 ที่ใช้ในการพยากรณ์ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดอยู่ที่ระดับ 8,158 pg/ml มีค่า sensitivity และ specificity ที่ 100%
สรุป: 1.ระดับ GDF15 ในเลือดหลังการเปลี่ยนหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับการต่อต้านเนื้อเยื่อแบบเฉียบพลันหลังเปลี่ยนหัวใจ 2. ระดับ GDF15 จะลดลงจนต่ำที่สุด 3 สัปห์ดาหลังการเปลี่ยนหัวใจ 3. ระดับ GDF15 ก่อนผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นเครื่องมือทีดีในการพยากรณ์ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนหัวใจในเรื่องการตายและการใช้เตรื่องผยุงหัวใจ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Growth Factor Differentiation 15 (GDF-15) is a novel biomarker responsible to inflammatory response and cellular stress. GDF-15 has been shown to be a prognostic factor in heart failure, atrial fibrillation, and pulmonary thrombosis. However, the role of GDF-15 has not been studied in acute cellular rejection after heart transplant.
Objectives: The objectives of this study were to evaluate the association between post-transplant GDF-15 concentration and acute cellular cardiac allograft rejection.
Methods: One hundred and fifteen serum samples were collected consecutively in thirty-seven post heart transplant recipients undergoing routine endomyocardial biopsy from May 2019 to December 2019. Serum samples were taken from vascular access prior to endomyocardial biopsies. GDF-15 levels were measured using Elecsys® assay (Roche Diagnostics, Germany). Of 115 serum samples, 112 posttransplant samples were matched to endomyocardial biopsies in 32 patients; 3 biopsies were considered as inadequate tissue samples for histological analysis. Acute cellular rejection (ACR) was diagnosed and graded according to the 2007 ISHLT criteria. Of 115 post-operative serum samples, 60 sequential samples were taken in 11 de novo transplant recipients who had operation during May-December 2019. Among 11 de novo heart transplant patients, 9 preoperative samples were taken prior to anesthesia induction. Post-transplant adverse outcomes included composite endpoints of death and primary graft failure/ right ventricular failure requiring mechanical circulatory support.
Results: In 112 post-operative serum samples, the median GDF-15 concentration was 1,818 pg/dl (IQR: 510 – 100,000 pg/dl), with the median time of serum collection of 18 weeks (IQR: 4-267 weeks) posttransplant. Of 112 endomyocardial biopsies, 92 (83%), 18 (16%), and 1 (1%) were graded as ISHLT grade 0R, 1R, and 2R, respectively. Post-transplant GDF-15 concentration was not associated with acute cellular rejection. In 60 sequential serum samples in 11 de novo heart transplant recipients, the median GDF-15 concentration was 2,255 pg/dl (IQR: 567 – 100,000 pg/dl), with the median time of serum collection of 6 weeks (IQR: 1-31 weeks)Conclusions: (1) Post-transplant GDF-15 concentration was not associated with acute cellular rejection. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1484 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
บทบาทของ growth differentiation factor 15 (GDF-15) ในการวินิจฉัยการปฏิเสธเนื้อเยื่อในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายหัวใจ |
|
dc.title.alternative |
Growth differentiation factor 15 (GDF-15), for diagnosis of cardiac allograft rejection |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.1484 |
|