Abstract:
บทนำ การฉีดวัคซีนในผู้ปลูกถ่ายอวัยวะมักได้ผลการกระตุ้นต่ำกว่าคนทั่วไปเนื่องจากผู้ปลูกถ่ายอวัยวะได้รับยากดภูมิ สำหรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนแบบเข้าชั้นผิวหนัง 2 ตำแหน่งหรือเข้ากล้าม 1 ตำแหน่งก็ได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนไข้กลุ่มนี้
วิธีการ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แก่ผู้ปลูกถ่ายไตที่มีอายุมากกว่า 18 ปี และได้รับการปลูกถ่ายมาแล้วมากกว่า 3 เดือน ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง 2 ตำแหน่ง และกลุ่มที่ 2 ได้รับวัคซีน ฯ ด้วยวิธีการฉีดเข้ากล้าม 1 ตำแหน่ง จากนั้นทำการวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในวันที่ 42 และเปรียบเทียบผลระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม
ผลลัพธ์ มีผู้เข้าร่วมทั้งทั้งหมด 33 ราย ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า ณ วันที่ 42 หลังจากเริ่มฉีดวัคซีน ผู้เข้าร่วม 26 คนมีระดับภูมิคุ้มกัน ≥0.5 IU/ml คิดเป็นร้อยละ 78.8 แบ่งเป็น 12 คน หรือร้อยละ 70 ในกลุ่มที่ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง และ 14 ราย หรือร้อยละ 87.5 ในกลุ่มที่ฉีดเข้ากล้าม โดยกลุ่มที่ฉีดเข้าชั้นผิวหนังมีค่าเฉลี่ยภูมิคุ้มกันเท่ากับ 2.51 และกลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามมีค่าเฉลี่ยภูมิคุ้มกันเท่ากับ 5.24 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทั้ง 2 อย่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลต่ำกว่าประชากรทั่วไป โดยการฉีดด้วยวิธีเข้ากล้ามมีแนวโน้มจะได้ผลดีกว่าการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง