Abstract:
การเห็นภาพหลอนเป็นอาการนอกเหนือระบบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยพาร์กินสัน กลไกการเกิดไม่ชัดเจน ทั้งอาการนอกเหนือระบบการเคลื่อนไหวและระบบเคลื่อนไหวผิดปกติอาจจะเกิดจากจุดเริ่มต้นเดียวกันคือ “อาการช้า”เป็นอาการหลัก ผู้ทดสอบเป็นพาร์กินสัน 70 คนและไม่เป็นโรคพาร์กินสัน 35 คน(แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม, พาร์กินสันเห็นภาพหลอน และพาร์กินสันไม่เห็นภาพหลอน) นำผู้ทดสอบดูแสงแฟลซจากคอมพิวเตอร์ เพื่อหาระยะเวลาระหว่างแสงแฟลซที่สั้นที่สุด และเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น นำข้อมูลมาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ ความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดแอลฟ่าขณะหลับตาของกลุ่มผู้ป่วยพาร์กินสันและกลุ่มปกติมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.51±0.16Hz และ 9.76±0.18Hz ตามลำดับและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) ระยะเวลาระหว่างการฉายแสงแฟลชของกลุ่มผู้ป่วยพาร์กินสันและกลุ่มปกติมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21.4± 3.1ms และ 13.6±1.4ms ตามลำดับ ซึ่งช้ากว่ากลุ่มคนปกติโดยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อนำระยะเวลาระหว่างการฉายแสงแฟลชของ 3 กลุ่มมาวิเคราะห์ พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.0115) และทั้งความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดแอลฟ่าขณะหลับตาและระยะเวลาระหว่างการฉายแสงแฟลชมีความสัมพันธ์กัน โดยใช้ Spearman’s correlation coefficient พบว่า rs = -0.2292, p=0.028 งานวิจัยนี้ทำให้เข้าใจว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอัตราการรับข้อมูลช้ากว่าคนปกติ เป็นไปได้ว่าอัตราการรับข้อมูลช้าส่งผลทำให้การประมวลผลของระบบการมองเห็นช้าด้วย และอาจทำให้เกิดการมองเห็นภาพหลอนในผู้ป่วยพาร์กินสัน การปรับอัตราการรับข้อมูลภาพให้เร็วขึ้นจะนำมาสู่การรักษาการเห็นภาพในผู้ป่วยพาร์กินสันได้