dc.contributor.advisor |
ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.advisor |
สดุดี พีรพรรัตนา |
|
dc.contributor.advisor |
ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล |
|
dc.contributor.author |
ธนวรรธ พูลเกิด |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:30:44Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:30:44Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76342 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
ความเป็นมา: การฟื้นตัวของไตมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน จากข้อมูลปัจจุบันกล่าวถึงไมโครอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแสดงออกยีน โดยส่งผลต่อการสร้างโปรตีนซึ่งจะสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในการตอบสนองภาวะไตวายเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบกลไกแน่ชัดของไมโครอาร์เอ็นเอกับการฟื้นตัวของไต วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาและทดสอบไมโครอาร์เอ็นเอในปัสสาวะและเลือดเพื่อใช้ทํานายการฟื้นตัวของไตจากภาวะไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง วิธีการ: การศึกษาการสังเกตแบบไปข้างหน้าในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนมิถุนายน 2020 ถึงเดือนมกราคม 2021 โดยนำตัวอย่างจากปัสสาวะและซีรั่มที่เก็บจากผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 หลังจากนั้นติดตาม 28 วันได้แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตและกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดยคำจำกัดความของภาวะการฟื้นตัวของไตมี 2 ข้อคือ ระดับครีเอตินินในเลือดกลับสู่ปกติและถ้ามีประวัติเดิมได้รับการล้างไตมาก่อนจะต้องหยุดล้างไตเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งในขั้นตอนค้นพบได้ใช้นาโนสตริงเพื่อวิเคราะห์หาไมโครอาร์เอ็นเอที่ต้องการ หลังจากนั้นทำการทดสอบโดยการวัดหาระดับไมโครอาร์เอ็นเอด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (Real-time polymerase chain reaction) ผลลัพธ์: ในระยะค้นพบได้นำปัสสาวะ 10 ตัวอย่างและเลือด 9 ตัวอย่างโดยเก็บวันแรกของการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 ซึ่งนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาไมโครอาร์เอ็นเอด้วยนาโนสตริง พบว่าระดับไมโครอาร์เอ็นเอในกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญกับกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดยการศึกษานี้ในปัสสาวะพบการเพิ่มขึ้นของ miR-556-3p (5.96, p=0.004), miR-1915-3p (5.87, p=0.02), miR-4284 (8.88, p=0.04) และการลดลงของ miR-32-5p (-2.29, p=0.005), miR-96-5p (-2.14, p=0.02), miR-556-5p (-5.61, p=0.04) ขณะที่ในเลือดพบการเพิ่มขึ้นของ miR-499b-5p (3.6, p=0.04) และการลดลงของ miR-30a-3p (-2.18, p=0.0.002), miR-92b-3p (-6.29, p=0.001) และ miR-770-5p (-7.88, p=0.001) หลังจากนั้นนำไมโครอาร์เอ็นเอดังกล่าวเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบในผู้ป่วย 95 คน พบว่า miR-556-3p ในปัสสาวะมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตและกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว โดย miR-556-3p ในปัสสาวะมีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.63 (95%CI; 0.51-0.76, p = 0.04) และรูปแบบทางคลินิกเพื่อทํานายการฟื้นตัวของไตโดยมีการใช้คะแนนโซฟาที่ไม่ใช้ค่าที่เกี่ยวข้องกับไตมาคำนวณ ค่าความเข้มข้นเลือด และค่าครีเอตินินวันแรกของการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันขั้นที่ 3 มีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.78 (95%CI; 0.68-0.89, p <0.01) และเมื่อเรานำรูปแบบทางคลินิกร่วมกับ miR-556-3p ในปัสสาวะพบว่ามีค่าพื้นที่ใต้กราฟ 0.82 (95%CI; 0.72-0.91, p <0.01) สรุป: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาไมโครอาร์เอ็นเอในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเป็นครั้งแรกในกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของไตเทียบกับกลุ่มที่ไตไม่ฟื้นตัว พบว่า miR-556-3p ในปัสสาวะสามารถช่วยทํานายการฟื้นตัวของไตได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Recent data showed that microRNAs (miRNAs) play an essential role in the posttranscriptional regulation of gene expression and cell differentiation in response to kidney injury. However, its contribution to the recovery from AKI is not well understood. Objective: To discover and validate miRNAs profile in urine and serum for predicting renal recovery from severe AKI. Method: A prospective observational study was conducted at King Chulalongkorn Memorial hospital between June 2020 to January 2021. Urine and serum samples of participants with AKI stage 3 were collected. The participants were divided into two groups at day 28: patients with renal recovery and patients with renal non-recovery. Transcriptomic analysis was performed using the NanoString miRNA Expression Assay. Then the expression level of candidate miRNAs was tested using quantitative real-time polymerase chain reaction in Validation phase. Results: In Discovery phase, 10 urine samples and 9 blood samples on the first day of enrollment (the first day of AKI stage 3) were randomly selected. Based on nCounter miRNA Expression Assay, the transcriptomic profile of the renal recovery group found to be significantly different from the renal non-recovery group. The study discovered the upregulation of miR-556-3p, miR-1915-3p, miR-4284 and downregulation of miR-32-5p, miR-96-5p, miR-556-5p in the urine samples while the upregulation of miR-499b-5p and down regulation of miR-30a-3p, miR-92b-3p and miR-770-5p was discovered in the serum samples. Ninety-five participants were enrolled in the Validation phase. Urine miR-556-3p was significantly higher in the renal recovery group compared to the renal non-recovery group. Urine miR-556-3p alone predicted renal recovery with an area under the curve (AUC) of 0.63 (95%CI; 0.51-0.76, p=0.04). A clinical model using non-renal SOFA score, hematocrit and creatinine on the first day of AKI stage 3 predicted renal recovery with AUC 0.78 (95%CI; 0.68-0.89, p <0.01). Combining this clinical model with urine miR-556-3p predicted renal recovery with AUC 0.82 (95%CI; 0.72-0.91, p <0.01). Conclusion: This data provides the first evidence that the microtranscriptome profiles of patients with renal recovery were different from non-recovery group. Urine miR-556-3p might be novel a biomarker for predicting renal recovery. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1343 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
โครงการศึกษาการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอเพื่อทำนายภาวะการฟื้นตัวจากภาวะไตวายเฉียบพลัน |
|
dc.title.alternative |
Determination of using micrornas for predicting recovery fromacute kidney injury |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1343 |
|