Abstract:
ความเป็นมา และวัตถุประสงค์: การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ได้มีการพัฒนาการรักษามาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death ligand 1 (Anti PD-L1) และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death (Anti PD-1) แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดถึงข้อมูลทางชีวภาพในการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยแต่ละราย จากข้อมูลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าดัชนีมวลกายนั้นมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ดังนั้นจึงทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของผลกระทบต่อสถานะทางโภชนาการโดยการประเมินด้วยแบบฟอร์ม patient generated subjected Global Assessment (PG-SGA) และปัจจัยหรือข้อกำหนดอื่นทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยประเมินภาวะทางโภชนาการด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ในวันที่เริ่มการรักษาและสัปดาห์ที่ 12 หลังเริ่มการรักษา ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกายและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับพารามิเตอร์ทางโภชนาการ บันทึกประวัติการรับประทานอาหารด้วยสมุดบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอินมูแคล (INMUCAL-N) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะโภชนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย พบว่าผู้ป่วย 18 รายมีภาวะทุพโภชนการเมื่อประเมินด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามการรักษา 7 เดือน โดยในผู้ป่วยที่ภาวะทางโภชนาการปกติ (PG-SGA A) มีระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่ยาวนานกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (PG-SGA B/C) และปัจจัยอื่นได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI), ระดับ NLR, pre-albumin, hs-CRP ในเลือด มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ยาวนานขึ้น สรุปผลการวิจัย: ภาวะทางโภชนาการที่ประเมินด้วย PG-SGA อาจจะมีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย โดยภาวะทุพโภชนาการมีผลลัพธ์ต่อระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่แย่กว่า