DSpace Repository

การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัชญา บุญชยาอนันต์
dc.contributor.author ศิรินรัตน์ ตั้งจิตตรง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:30:53Z
dc.date.available 2021-09-21T06:30:53Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76363
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 12 เดือน และเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน ที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass(LRYGB) หรือ Laparoscopic sleeve gastrectomy(LSG)  ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปี พ.ศ.2558-2562  ที่หลังผ่าตัดที่ 12 เดือน มีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2  กลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน และไม่มีโรคประจำตัว วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody 770 ที่คลินิกอายุรกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน  จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มผู้ป่วยมีค่าสัดส่วนเอวต่อสะโพก (waist-hip ratio)(0.83 และ 0.9, P-value <0.001)  ร้อยละของไขมันในร่างกาย (percentage of body fat)(ร้อยละ 30.6 และ ร้อยละ 35.9, P-value 0.001)   มวลไขมันบริเวณลำตัว (trunk fat mass)(10.3 กิโลกรัม และ 12.4 กิโลกรัม , P-value 0.04) และ มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณแขนขา (appendicular lean mass)(9 กิโลกรัม และ 16.9 กิโลกรัม, P-value <0.001) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีค่ามวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะทั้งร่างกาย (soft lean mass)(47.7 กิโลกรัม และ 39.9 กิโลกรัม, P-value 0.001)  มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณลำตัว (trunk lean mass)(21.2 กิโลกรัม และ 19 กิโลกรัม, P-value 0.02)  มวลกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle mass)(27.5 กิโลกรัม และ 23 กิโลกรัม, P-value 0.003) และ มวลกายไร้ไขมัน (fat free mass)(51.1 กิโลกรัม และ 42.3 กิโลกรัม, P-value 0.001) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าหลังผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกายลดลงทั้งหมด โดยเห็นผลลดลงมากสุดที่ระยะเวลา 12 เดือนหลังเข้ารับผ่าตัด สรุปการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แม้ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลไขมัน มวลกายไร้ไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ลดลงทั้งหมดในช่วงตลอดระยะเวลา12 เดือน หลังเข้ารับการผ่าตัด  แต่ มวลกล้ามเนื้อ และมวลกายไร้ไขมันในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ยังคงสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน
dc.description.abstractalternative Objective: To evaluate the changes in body composition of post-bariatric surgery patients at 12 months follow-up and comparing with non-operative controls who were matched for age, sex and BMI.[PB1]  Methods: This is an observational analytic study using the data from post-bariatric surgery patients who were performed laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass (LRGB) or laparoscopic sleeve gastrectomy (LSG) at King Chulalongkorn Memorial Hospital during the period of January 2015-December 2019. Patients who had achieved BMI of <30 kg/m2 within 12 months after the surgery were included. Non-operative healthy controls matched for sex, age and BMI were recruited. To evaluate body composition, single Bioelectrical impedance analysis (BIA) (Inbody 770) machine was used for the entire study. Results: Sixty participants were included in this study (30 post-bariatric surgery patients, 30 non-operative controls). Comparing with non-operative controls, post-bariatric surgery patients had less waist-hip ratio (WHR)(0.83 vs 0.9 , P-value <0.001), percentage of body fat (PBF)(30.6 % vs 35.9 %, P-value 0.001), appendicular lean mass (ALM) (9 kg vs 16.9 kg, P-value <0.001) and trunk fat mass (10.3 kg vs 12.4 kg, P-value 0.04), and had more soft lean mass (SLM) (47.7 kg vs 39.9 kg, P-value 0.001), fat free mass (FFM) (51.1 kg vs 42.3 kg, P-value 0.001), skeletal muscle mass (SMM)(27.5 kg vs 23 kg, P-value 0.003), trunk lean mass (21.2 kg vs 19 kg, P-value 0.02). At 6 months and 12 months after performing bariatric surgery, there were statistically significant reduction on all of body composition variables. Conclusion: Despite the significant reductions in all body composition variables in post-bariatric surgery patients at 12-month follow-up, fat free mass and skeletal muscle mass still appeared to be higher compared to the control group.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1327
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน
dc.title.alternative Comparison of body composition variables between post-bariatric surgery patients and non-operative controls
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1327


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record