DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนิดา วินะยานุวัติคุณ
dc.contributor.advisor ดนิตา กานต์นฤนิมิต
dc.contributor.author อรรถพล โชติรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:30:56Z
dc.date.available 2021-09-21T06:30:56Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76368
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ที่มา: มะเร็งศีรษะและคอมีอุบัติการณ์ อยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศไทย การรักษาเพื่อมุ่งหวังให้หายขาด ประกอบไปด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งพบได้มากถึง 40-80 % ของคนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา  MASCCI/ISOO ได้แนะนำการใช้น้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์เพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ขณะที่น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนเอง มีการศึกษาพบว่ามีคุณสมบัติลดการอักเสบได้ดีกว่าน้ำเกลือ หรือ คลอเฮกซีดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ กับน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้รังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีเป็นการรักษาเสริมหลังทำการผ่าตัด หรือ เป็นการรักษาหลัก โดยมีปัจจัยก่อกวนที่คำนึงถึง ได้แก่ ตำแหน่งของมะเร็งศีรษะและคอ, รูปแบบการรักษาเป็นการรักษาเสริมหลังผ่าตัดหรือการรักษาหลัก, สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาติน หรือ คาร์โบพลาติน และ ความถี่สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาตินรายสัปดาห์หรือราย 3 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การประเมินคะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดย Oral Mucositis Assessment Scale(OMAS) และมีวัตถุประสงค์การศึกษารอง คือ คะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบโดย CTCAE V 5.0, อัตราการใช้ยาแก้ปวด, อัตราการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา, อัตราการใส่สายจมูก และ อัตราการนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้นของผู้ป่วยทั้งหมด 44 รายจากทั้งหมด 70ราย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 พบว่าลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันของผู้เข้าร่วมทั้ง 2 กลุ่ม ค่ามัธยฐานรายสัปดาห์ของคะแนน OMAS จากการประเมินทั้ง 8 ครั้งของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนยสำคัญ การประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบด้วย CTCAE V5.0 พบว่า การอักเสบในระดับ 3-4 นั้นมีแนวโน้มน้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปากโพวิโดนไอโอดีน แต่ไม่มีนยสำคัญทางสถิติ และผลการศึกษารองอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนยสำคัญ สรุปผลการศึกษา: รายงานเบื้องต้นพบว่าน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการลดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดพร้อมรังสีรักษา
dc.description.abstractalternative Background: Head and neck cancer is one of the top ten cancer incidences in Thailand. Curative treatment approaches were including surgery, radiation, and systemic therapy. Mucositis is an important treatment limited toxicity which has been found in 40-80% of patient receiving concurrent chemoradiation. Benzydamine hydrochloride was recommended by MASCCI/ISOO to prevent oral mucositis. Povidone-iodine had also been adopted to use as oral rinse to prevent mucositis. Objective: This study compared the efficacy between benzydamine hydrochloride and povidone-iodine to prevent mucositis in head and neck cancer who received concurrent chemoradiotherapy. Methods: A prospective study was conducted to recruit participants who diagnosed head and neck cancer and received concurrent chemoradiotherapy for curative intention. The stratification factors were primary site of disease, adjuvant or definitive treatment, cisplatin or carboplatin and schedule of chemotherapy (weekly or 3-week). The primary outcome was Oral Mucositis Assessment Scale (OMAS).  Secondary outcomes were NCI-CTCAE v.5 mucositis grading, analgesic use, antibiotics use, anti-fungal use, NG tube insertion, and hospitalization rate. Results: We report a preliminary study of 44 patients (plan enrolment = 70). Demographic characteristics were well-balanced between both arms. Median OMAS were significant between 4th-6th week of treatment indicated chemoradiation toxicity. There were no significant different in median OMAS score during course of treatment. The worse CTCAE grade III/IV mucositis were more in benzydamine hydrochloride arm than povidone-iodine without significant difference. Other secondary outcomes were not different. Conclusion: Preliminary study showed the similar efficacy of povidone-iodine gargle to benzydamine hydrochloride for head and neck cancer who received chemoradiotherapy
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1316
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด
dc.title.alternative Comparative efficacy of povidone-iodine gargline to benzydamine hydrochloride (difflam®) to prevent oral mucositis from chemoradiotherapy in localized stage head and neck cancer
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1316


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record