dc.contributor.advisor |
ณัฐวุฒิ โตวนำชัย |
|
dc.contributor.author |
อริศรา ฤกษ์ฉวี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:30:56Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:30:56Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76369 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: ยาทาโครลิมัส (Tacrolimus; TAC) จัดเป็นยากดภูมิที่เป็นรากฐานสําคัญที่ใช้ในผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การบรรลุเป้าหมายสู่ระดับยาที่กำหนดโดยเร็วที่สุดถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับยาในช่วงระยะแรกหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การมีระดับยาต่ำหรือสูงเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาสมการสำหรับหาขนาดยาทาโครลิมัสที่บรรลุเป้าหมายในช่วงวันที่ 3-5 หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาย้อนหลังจัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ปีพ.ศ. 2558-2563 แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้พัฒนาสมการคือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปีพ.ศ. 2558-2561 และกลุ่มที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของสมการคือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปีพ.ศ. 2562-2563 ผู้ป่วยทั้งหมดในการศึกษาใช้ยาทาโครลิมัสเป็นยากดภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาจะถูกนำไปคำนวณเพื่อหาสมการพยากรณ์ขนาดยา โดยจะถูกสร้างขึ้นตามฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลจากความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาทาโครลิมัสเป้าหมาย(มก./กก.) และระดับยาทาโครลิมัสที่ 12 ชั่วโมงหลังรับประทานยาครั้งแรก(TAC C12) โดยเลือกตัวแปรอิสระที่น่าจะมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อขนาดยาทาโครลิมัสเพื่อนำมาใช้สร้างสมการ ได้แก่ TAC C12, ฮีโมโกลบิน, เซรั่มอัลบูมิน และค่าพื้นที่ผิวของร่างกาย (BSA) ตัวแปรแต่ละตัวจะถูกนำมาคำนวณและสร้างสมการโดยวิธี stepwise regression เพื่อเลือกสมการที่ดีและเหมาะสมที่สุด และแบบจําลองสมการที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการทำนายขนาดยาด้วยกลุ่มประชากรที่ใช้ตรวจสอบ โดยแสดงเป็นค่า R-squared (R2) และค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Error; MAE)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 206 คน อยู่ในกลุ่มพัฒนาสมการ 140 คน ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มพัฒนาสมการ มีผู้รับไตบริจาคจากผู้เสียชีวิต 99 คน (70.7%) ค่าเฉลี่ยอายุ 44.2 (±11.8) ปี เพศชาย 57.1%, พื้นที่ผิวกาย 1.6 (±0.2) เมตร2, ฮีโมโกลบิน 11.2 (±1.7) มก./ดล., เซรั่มอัลบูมิน 3.7 (±0.5) มก./ล. ปริมาณเฉลี่ยของยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายไตของกลุ่มพัฒนาคือ 5.8 (±1.9) มก./วัน ซึ่งใกล้เคียงกับในกลุ่มตรวจสอบคือ 5.8 (±2.1) มก./วัน เราพบลักษณะความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรงระหว่างปริมาณเฉลี่ยของยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายไตและ TAC C12 โดยสามารถนำมาคํานวณหาขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายเพื่อบรรลุระดับการรักษาที่ระดับยาเฉลี่ย 8.5 นก./มล. ได้เป็นสมการดังต่อไปนี้ log (adjusted TAC dose at day3-5) = -1.32543 - 0.534122 * log(TAC C12) ค่า R-squared จากกลุ่มพัฒนาสมการคือ 0.3044 ค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดสัมบูรณ์(MAE)ของขนาดยาทาโครลิมัส คือ 0.03 มก./กก. สรุป: สมการพยากรณ์ขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในช่วงการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่พัฒนาจากปัจจัยทางคลินิก สามารถเป็นแนวทางให้อายุรแพทย์โรคไตเพื่อช่วยในการปรับขนาดยาทาโครลิมัสสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโดยลดทั้งความเป็นพิษจากยาทาโครลิมัสและลดอัตราการปฏิเสธไตได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Tacrolimus (TAC) is the cornerstone of immunosuppressive drug after kidney transplant(KT). Achieving target TAC concentrations as soon as possible is crucial, especially early post-transplant period. Too low or too high tacrolimus exposure can lead to unfavorable complications. The aim of this study was to develop prediction equation to predict achieving target tacrolimus dosage used at day 3-5 of post kidney transplant surgery.
Methods: A retrospective cohort study was conducted at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand. We divided to 2 cohorts ; first developmental cohort was KT recipients during 2015-2018 and second was validation cohort during 2019-2020. All enrolled-patients using TAC-based immunosuppressive regimens. The dose prediction model was developed based on exponential function between target TAC dose (mg/kg) and 12-hour level after the first dose (TAC C12). The potential covariates affect to tacrolimus dosage including TAC C12, hemoglobin, serum albumin, and BSA. The best appropriate model with any factors was selected by stepwise regression. The model performance was tested in validation cohort by adjusted R-squared (R2) and Mean Absolute Error (MAE).
Results: A total of 206 KT recipients were enrolled which was 140 recipients in developmental cohort. There were 99 (70.7%) deceased donor KT recipients, mean age was 44.2 (±11.8) years, male 57.1%, body surface area (BSA) 1.6 (±0.2) m2, hemoglobin 11.2 (±1.7) mg/dL, serum albumin 3.7 (±0.5) mg/L in developmental cohort. Mean TAC dose used at day 3-5 post-transplant was 5.8 (±1.9) mg/day in developmental cohort as same as TAC dose used in validation cohort 5.8 (±2.1) mg/day. We found correlation between target TAC dose at day 3-5 (mg/kg) and TAC C12 as a non-linear association. We calculated the dosage of TAC for achieving average therapeutic level 8.5 ng/mL at day 3-5 post-transplant which were equations as following. log (adjusted TAC dose at day3-5) = -1.32543 - 0.534122 * log(TAC C12) The R-squared of developmental cohort was 0.3044. Mean absolute error (MAE) of TAC dose was 0.03 mg/kg. Conclusion: The TAC dose prediction equation developed from clinical factors, can guide nephrologists to adjust TAC dose during perioperative KT in individual patients and this optimization will reduce both TAC toxicity and KT rejection rates. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1305 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การทำนายขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในช่วงระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในประชากรไทย |
|
dc.title.alternative |
Tacrolimus dose prediction during perioperative period in Thai kidney transplant recipients |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1305 |
|