Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการหลอกลวงเครื่องสําอางปลอมในกลุ่มพริตตี้ โดยศึกษา พฤติกรรมการเลือกเครื่องสําอางของพริตตี้ที่แตกต่างในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ เกิดความรู้ ความเข้าใจว่าเหตุใด เครื่องสําอางปลอมยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในสังคมไทย และเหตุใดในกลุ่มพริตตี้ มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเหล่านี้ และให้แนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อของพริตตี้จากกลไกการ หลอกลวงเครื่องสําอางปลอม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ แบบเจาะลึกในพริตตี้ทั้งหมด 15 คน โดยแบ่งประเภทผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น
2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน และอีก 1 คน โดยกลุ่มแรก เรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำ กลุ่มที่สองเรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ และอีก 1 คน คือ พริตตี้ที่ไม่เคยใช้เครื่องสําอางปลอม จากการศึกษาพบว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำมีความเสี่ยง และมีผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น โดยจาก กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้
7 รายมีผลกระทบเกิดขึ้น 4 ราย ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอม เป็นประจำ มี ทั้งหมด 7 คน แต่ได้รับผลกระทบ 1 ราย ดังนั้นหากพริตตี้มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ ความเสี่ยงก็จะมีมากขึ้นในส่วนของผลกระทบที่จะเกิด นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า กลไกการหลอกลวง ในเครื่องสําอางปลอมเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ 1. การใช้ค่านิยมของสังคม 2. การใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ 3. การพิจารณาจากบุคคลต่างๆ เช่น ผู้มีชื่อเสียงในสังคม หรือการให้ความเห็นจากบุคคลอื่น 4.การเชื่อถือบุคคลรอบข้างเพื่อน บุคคลใกล้ชิดโดยเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ที่ส่งผลต่อกลุ่มพริตตี้ยังคงเป็นเหยื่อในเครื่องสําอางปลอม