DSpace Repository

การใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคล: กรณีศึกษา กรมศุลกากร

Show simple item record

dc.contributor.advisor วันชัย มีชาติ
dc.contributor.author ตรี ณ ระนอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:35:53Z
dc.date.available 2021-09-21T06:35:53Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76433
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากร (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากร โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากบุคลากรสังกัดกองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร ผลการศึกษา พบว่า กรมศุลกากรมีการกำหนด “สมรรถนะ” ซึ่งหมายถึง (1) ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (2) ทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่ง และ (3) สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก สมรรถนะทางการบริหาร และสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดย “สมรรถนะ” ที่กล่าวมานี้ มีการนำมาใช้ประกอบการพิจารณาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากรหลัก ๆ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย และเลื่อนระดับ (2) การพัฒนาบุคลากร (3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (4) การให้ค่าตอบแทนและจูงใจ อย่างไรก็ตาม ในด้านการพัฒนาระบบงานนั้น ไม่ได้มีการนำสมรรถนะมาใช้ในการพิจารณาอยู่ด้วย
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were: (1) to study the uses of competencies in human resource management of The Customs Department. (2) to suggest the way to develop the uses of competencies in human resource management for The Customs Department. This study is a qualitative research. Data were collected by researching documents and in-depth interview with 11 informants, purposefully selected officers from the Human Resource Management Division of The Customs Department. The result shows that The Customs Department had set up the “Competency” which refers to: (1) Necessary knowledge for a job (2) Necessary skills for a job (3) Necessary competencies for a job consist of Core Competency, Managerial Competency and Functional Competency according to The Office of Civil Service Commission’s direction. The “Competency” is used in 4 fields of human resource management at The Customs Department as follows: (1) Recruitment Appointment and Promotion (2) Employee Development (3) Performance Appraisal (4) Compensation and Benefits. However, there is no use of competency in the field of Work System Development.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.398
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคล: กรณีศึกษา กรมศุลกากร
dc.title.alternative The use of competencies in human resource management: a case study of the customs department
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.398


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record