DSpace Repository

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิมลมาศ ศรีจำเริญ
dc.contributor.author ธัญจิรา เพ็ญสิริกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:35:57Z
dc.date.available 2021-09-21T06:35:57Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76440
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาการดำเนินการ และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนา ปรับปรุงการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการ โดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิจัยศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ในเขตพื้นที่นำร่อง เขตสุขภาพที่ 6 (จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ) และดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในมุมมองของผู้บริหารส่วนกลางที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนและยุทธศาสตร์แบบ Top-down และผู้บริหารและผู้ปฏิบัติส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องในการวางแผนและยุทธศาสตร์แบบ bottom-up จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าสำหรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข ผู้ให้สัมภาษณ์มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในระดับปานกลางหรือพอใจในระดับนึง เนื่องจากการมีจุดแข็งของเขตสุขภาพเป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายบริการให้ไร้รอยต่อมากขึ้น นำไปสู่การตอบสนองความต้องการในพื้นที่ได้รวดเร็วมากขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการของการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการตามบริบทพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม มีการปรับเกลี่ยกำลังคนเกิดความคล่องตัวขึ้น ทิศทางระบบบริหารจัดการตอบสนองการพัฒนาบริการในพื้นที่เกิดความต่อเนื่องและเกิดความก้าวหน้าด้านบริการที่มีมากกว่าเดิม อย่างไรก็ดี ยังมีจุดอ่อนของความล่าช้าในระบบราชการ กฎระเบียบที่ไม่ทันสมัย และการกระจายอำนาจที่ยังไม่เบ็ดเสร็จแท้จริง กรอบกำลังคนไม่สัมพันธ์กับภาระงานจริง และข้อมูลที่มียังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงสรุปได้ว่ามีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งทั้งในมิติมีความเท่าเทียม รวดเร็วทันเวลา เพียงพอเหมาะสม เกิดความต่อเนื่อง แต่ยังมีความก้าวหน้าที่ยังต้องพัฒนาให้เกิดความเหมาะสมต่อการตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการเชิงพื้นที่ในประเด็นจุดอ่อนที่กล่าวถึงนี้ต่อไป
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to study the efficiency of manpower management according to the Service Delivery System by Region 6, Ministry of Public Health, the implementation of the system plans, and offer recommendations to improve manpower management policy and practice of Region 6. This research is a qualitative research using a case study of a pilot area of Region 6 (Chanthaburi, Chachoengsao, Chonburi, Trat, Prachinburi, Rayong, Sa Kaeo, Samut Prakan). Data is collected from in-depth interviews of executives involved in the top-down planning and strategy at the national level, and executives and practitioners involved in bottom-up planning and strategy at the regional level. The data were then analyzed and reported using content analysis method. The results show that for the efficiency of manpower management according to the service delivery system by Region, Ministry of Public Health: A Case Study of Region 6, the interviewees are moderately satisfied. The strength of management by health area provides as a point of connection making a seamless service network. This leads to a faster response to local demand, continuous improvements in production processes, and improved manpower management based on local contexts. In addition, it also contributes to the streamlining of manpower, direction of the management system in response to development of local services, and continuity of services. However, there system challenges are bureaucratic delays, out-of-date regulations, and the lack of true decentralization. The manpower framework is not related to the actual workload, and the insufficient data. Therefore, it can be concluded that manpower management is effective at a certain level in terms of equality, speed, timeliness, sufficiency, appropriateness, and continuity. However, there are still gaps that still need to be addressed to meet the needs of local service users.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.416
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข
dc.title.alternative Efficiency of manpower management according to the service delivery systemby region, ministry of public health: a case study of region 6
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.416


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record