DSpace Repository

พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐนันท์ คุณมาศ
dc.contributor.author ปัญฐ์พิกา ภิรัฐพงศ์ธนากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:36:02Z
dc.date.available 2021-09-21T06:36:02Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76447
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจรจาข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปภายหลังเบร็กซิท เมื่อประชากรร้อยละ 51.9 ของ สหราชอาณาจักรได้ลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในปี 2559 โดยใช้ทฤษฎีเกมสองระดับของโรเบิร์ต พัตนัม อธิบายปัจจัยและตัวแสดงทางการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่มีผลตั้งแต่เริ่มกระบวนการเจรจาจนถึงการบรรลุข้อตกลง โดยเฉพาะการนำกลยุทธ์ แบตน่า มาใช้ในการเจรจาต่อรองในจุดที่ยอมรับร่วมกันของแต่ละฝ่าย ให้เห็นชอบกับข้อตกลงที่สามารถมีความเป็นไปได้ และได้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับข้อตกลง สารนิพนธ์นี้ยังได้ใช้แนวคิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน ของโรเบิร์ต โคเฮน และโจเซฟ นาย มาพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป นำมาสู่การใช้นโยบายการค้าร่วมกันผ่านระบบเศรษฐกิจตลาดเดียว โดยสหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกตลาดเดียวและสหภาพศุลกากร ไปจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านสิ้นปี 2563 ทั้งนี้ข้อตกลง TCA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ภายหลังจากที่สองฝ่ายให้สัตยาบันครบถ้วนเรียบร้อย อย่างไรก็ดี ภายใต้ข้อตกลง TCA ยังคงมีประเด็นคงค้าง อาทิ ไอร์แลนด์เหนือ และการทำประมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทั้งสองฝ่ายในอนาคต
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to examine the negotiation between the United Kingdom (UK) and the European Union (EU) on Trade and Cooperation Agreement (TCA) after Brexit from the results of the UK’s population referendum voted leave the EU by 51.9 percent in 2016. Through the use of two-level game theory by Robert Putnam, the process of trade negotiations can be examined by actors as well as domestic and  international political factors throughout negotiation process. Both sides reached an agreement by adopting BATNA strategy which it is used to negotiate point of mutual gains of parties to the Zone of Possible Agreement to find the best alternative to the agreement negotiated with the counterparty. The research also uses of complex interdependence by Robert O. Keohane and Joseph S. Nye, Jr. on relationship between the UK and the EU which has led to the previous use of a common trade policy through a single market economy. The UK remained a member of the single market and customs union until the end of transition period (December 2020). The TCA will come into effect on 1st May 2021 after complete ratification by parties. The Northern Ireland and fishing sector remain challenging tasks for both sides in the future.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.284
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท
dc.title.alternative Dynamics of trade and cooperation agreement negotiation between the United Kingdom and the European union after brexit
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.284


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record