dc.contributor.advisor |
ศิริมา ทองสว่าง |
|
dc.contributor.author |
ปิยชัย นาคอ่อน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:36:05Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:36:05Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76451 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในระลอกที่สองในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 2.เพื่อศึกษาการใช้ชีวอำนาจที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 3.เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของฮาบิทัสที่ได้รับผลจากชีวอำนาจของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การศึกษานี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาจำนวน 15 คน ด้วยการคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า การเกิดขึ้นของโรคระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้รัฐไทยเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการโรคระบาดในรูปแบบการส่งผ่านชีวอำนาจทางในมิติต่าง ๆ ประการแรกคือ การใช้อำนาจรัฐโดยตรงในระดับจังหวัดกล่าวคือ การออกนโยบาย กฎหมาย มาตรการ ประกาศจังหวัด เพื่อควบคุมแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรเอกชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร การดำเนินการดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อให้แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดูแลรักษาตนเองให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประการที่สองการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การใช้อำนาจดังกล่าวส่งผลให้การเคลื่อนย้าย การพบปะสังสรรค์ และการทำกิจกรรมทางศาสนาหยุดชะงักลงหรือได้รับการควบคุม ทั้งนี้สื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยที่เข้ามาทดแทนกิจกรรมดังกล่าว ประการสุดท้ายคือการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันส่งผลต่อแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์การเอกชน การใช้อำนาจในส่วนนี้ได้ส่งผลต่อรายได้ ค่าใช้จ่ายประจำวัน และการส่งเงินกลับประเทศที่ลดลงอันเนื่องมาจากคำสั่งปิดกิจการชั่วคราวและการเข้าถึงความช่วยเหลือเยียวยาที่ยากลำบาก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1. หน่วยงานระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานสาธารณสุข ต้องเข้ามาช่วยเหลือในส่วนเงินเยียวยาจากผลกระทบเชื้อไวรัส Covid-19 ในเรื่องของสุขภาพและสุขภาพจิตของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาเช่นเดียวกับชาวไทย 2. ผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการควรเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการด้านเอกสารประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือเยียวยาต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
The research of Biopower and Habitus of Myanmar migrant workers during Covid-19 Pandemic in Samut-Sakorn province aims 1. to study the situation of Covid-19 pandemic in the second wave in Samut-Sakorn province; 2. to study biopower applied in the area of Samut-Sakorn province. This study applies qualitative research method with secondary data analysis, non-participant observation and interview with 15 Myanmar migrant workers selected by purposeful sampling method. The result of this research shows that the spread of Covid-19 led the Thai government to play a role in the pandemic management in term of biopower transformation in various ways. First, the direct exercise of state’s power at the provincial level to issue policies, laws, measures, and provincial announcements to control Myanmar migrant workers and private organizations in Samut-Sakorn province. The administration was planned to restrict Myanmar workers and other related organizations to always maintain their habitualness in compliance with government policies. Second, the exercise of state’s power directly affects lifestyles of Myanmar migrant workers as their movements, meeting, and religious activities are disrupted, under control and supported by social media. Last, the use of state’s power impacts economic activities resulted in Myanmar migrant workers and private organizations in term of income, daily expenses and less amount of money remitted to their country due to the orders of temporary closure of premises and difficulty in accessing assistance. The suggestions of this research are 1. provincial authorities such as the Social Security Office and the Public Health Office should provide financial aid for the impacts of Covid-19 in accordance with physical health and mental health of Myanmar migrant workers as they provide to Thais. 2. entrepreneurs and business owners should facilitate Myanmar workers, especially, to renew work permits and to proceed on social security documents for further assistance. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1247 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร |
|
dc.title.alternative |
Biopower and habitus of Myanmar migrant workers during the COVID-19 pandemic in Samut-Sakhon province |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1247 |
|