DSpace Repository

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิมลมาศ ศรีจำเริญ
dc.contributor.author วรรัมภา ศรีปานันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:36:17Z
dc.date.available 2021-09-21T06:36:17Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76465
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดให้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเป็นธรรมทางการค้า โดยใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร และการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในกองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า หัวหน้าแผนกวิจัยและข้อมูลอุตสาหกรรม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย และผู้บริโภค มีกรอบแนวคิดในการศึกษาคือตัวแบบ CIPP (Context-Input-Process-Product Model) ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบในการใช้มาตรการ ได้แก่สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีผลต่อความสำเร็จในการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศกลับมามีส่วนแบ่งตลาดและยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงส่งผลต่อเนื่องให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศได้มีการพัฒนานวัตกรรม
dc.description.abstractalternative The study of the Anti-Dumping Policy and its Effects on the Growth of Steel industries in Thailand is qualitative research conducted to determine and analyze directions of the steel industry development in Thailand affected by the implementation of the Anti-Dumping Policy. This research also proposes guidelines for improving the effectiveness of the anti-dumping policy in creating a fair trade in the industry. The data is collected from documentary research and in-depth interviews with four groups of participants: 1) government officials in the Trade Interests and Remedies Division, 2) Head of Research and Industry Information of Iron and Steel Institute of Thailand, 3) The Association of Thai Steel Industries, and 4) Consumers in the industry. The conceptual framework of the study is based on the CIPP model (Context-Input-Process-Product Model). The research results reveal that the crucial factors for implementing the policy are the environment, import factors, and the processes and products. These factors all drive the success and effectiveness of the Anti-Dumping Policy that has prevented the destructive results to the steel industry while also help increase the market share and sales volume and driving further the innovation development in this industry.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.444
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อุตสาหกรรมเหล็ก -- ไทย
dc.subject การเจรจาต่อรองร่วม -- อุตสาหกรรมเหล็กกล้า
dc.subject Iron industry and trade -- Thailand
dc.subject Collective bargaining -- Steel industry
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กไทย
dc.title.alternative Anti-dumping policy and its effects on the growth of steel industries in Thailand
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.444


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record