DSpace Repository

การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในภาวะวิกฤตกรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Show simple item record

dc.contributor.advisor วันชัย มีชาติ
dc.contributor.author อรธิชา ศิลปวิศวกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:36:28Z
dc.date.available 2021-09-21T06:36:28Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76477
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และศึกษาวิธีการดำเนินการ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้ภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ 1) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีนโยบายในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น แต่มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมของเทคโนโลยี 2) งบประมาณด้านฝึกอบรมปรับลดลง 3) ไม่สามารถดำเนินการสรรหาอัตรากำลังได้ตามแผนที่กำหนด 4) แผนการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากรหยุดชะงัก 5) ตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด และวิธีการดำเนินการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้ภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า 1) ด้านการสรรหาและคัดเลือก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการเปิดสอบโดยใช้ระบบออนไลน์เพิ่มขึ้น จากกระบวนการรับสมัคร และกระบวนการสัมภาษณ์ข้าราชการใหม่ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้มีแนวทางในการปฏิบัติให้นักเรียนทุนรัฐบาลประเภททุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศ (ทุน UIS) ให้เข้ารับการฝึกงานกับส่วนราชการเจ้าของทุนเป็นจำนวน 6 สัปดาห์ ก่อนเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ และประเภททุนบุคคลทั่วไปมีแนวทางในการบรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล เข้ารับราชการกับส่วนราชการเจ้าของทุนก่อนการไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ 2) การพัฒนาและฝึกอบรม เน้นการพัฒนาบุคลากรผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยดำเนินการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) และแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) 3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ยึดผลสำเร็จของงานหรือวัตถุประสงค์เป็นหลัก ผลให้ผลการปฏิบัติงานรายบุคคลอยู่ในระดับดีเด่น แต่ผลการปฏิบัติราชการกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เป็นผลให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจดำเนินการปรับตัวชี้วัด
dc.description.abstractalternative This research study aimed to investigate the impact of the Covid-19 pandemic crisis on the human resource management of the State Enterprise Policy Office and study the process of human resource management during the pandemic crisis of COVID-19. This research study is qualitative research collecting information from the document and an in-depth interview. The results of the study showed that the impact of the Covid-19 pandemic crisis on human resource management of the State Enterprise Policy Office resulting in; 1) the State Enterprise Policy Office promoted technology in operations but there was still a limitation on the availability; 2) the budget for training has been reduced; 3) the recruitment of manpower could not be carried out as planned; 4) personnel development and training plans were interrupted; and 5) indicators fail to meet the specified target values. The methods of human resource management under the COVID-19 crisis include the following. For recruiting and selection: the State Enterprise Policy Office has conducted more online examinations in the admission process and the process of interviewing new government officials. In addition, the Office of the Civil Service Commission requires Undergraduate Intelligence Scholarship (UIS scholarships) to undertake a six-week internship with a government agency before entering the process. For scholarships for the public, scholarships recipients will be recruited to work for the government agency that owns the scholarship before studying abroad. For development and training: promotes human resource development through various online channels by preparing a succession plan and an individual development plan (IDP). As a result, individual performance was at an outstanding level. However, the government's performance was in the opposite direction which caused the need for indicators adjustment for the State Enterprise Policy Office.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.367
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject รัฐวิสาหกิจ -- การสรรหาบุคลากร
dc.subject การบริหารงานบุคคล -- ไทย
dc.subject โควิด-19 (โรค) -- แง่สังคม
dc.subject Government business enterprises -- Employee selection
dc.subject Personnel management -- Thailand
dc.subject COVID-19 (Disease) -- Social aspects
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในภาวะวิกฤตกรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
dc.title.alternative Human resource management in crisis (a case study of state enterprise policy office and COVID-19)
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.367


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record