DSpace Repository

การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลี

Show simple item record

dc.contributor.advisor กวิน อัศวานันท์
dc.contributor.author ณิชกานต์ ซำศิริพงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:48:32Z
dc.date.available 2021-09-21T06:48:32Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76606
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract จากสถานการณ์ตลาด K-pop ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในหลายภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มที่กลุ่มแฟนคลับนิยมใช้ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปินมากที่สุด ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์อย่าง ทวิตเตอร์ จากสถิติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทั่วโลกมีการทวีตเกี่ยวกับ K-pop มากกว่า 6,700 ล้านทวีต อย่างไรก็ตามทวิตเตอร์ก็ยังคงพบปัญหาในการใช้งานหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องความน่าเชื่อถือของผู้ใช้งาน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลี โดยได้ทำการศึกษาแนวคิด พฤติกรรม และปัญหาการใช้แพลตฟอร์มของแฟนคลับศิลปินเกาหลี ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี จำนวน 10 ราย ใน 4 หัวข้อ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์, คำถามเกี่ยวกับการเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี, คำถามเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และคำถามเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ พร้อมทั้งนำมาใช้เพื่อออกแบบคุณลักษณะของแพลตฟอร์มสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลี ซึ่งสามารถออกแบบคุณลักษณะได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ Community, Marketplace และ Project โดยจากการทดสอบการยอมรับกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 17 ราย พบว่ากลุ่มเป้าหมายร้อยละ 94.12 ให้การยอมรับต้นแบบแพลตฟอร์มสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลี
dc.description.abstractalternative The K-pop market is growing steadily in many countries around the world. The most popular community platform of K-pop fans is Twitter. Fans connects with their favorite Korean artists and participates in the conversations with each other around the world, setting a new global record of 6.7 billion K-pop related Tweets in 2020. However, the current platform, Twitter, still has many problems for serving the K-pop fans in this domain. Particularly, the platform does not exhibit trust and reliability among the fan users. The objective of this research is to develop a prototype of the Korean artist fan clubs platform. The study is conducted as a qualitative research through an in-depth interview. There are a total of 10 participants who are Korean artist fan clubs. The researcher inquires the participants in four main topics: demographics, fan identity, fans activities, and current platform’s issues. The collected data were analyzed and used to designed prototype of platform with three main features: Community, Marketplace, and Project. The result of acceptance test revealed that 94.12% of 17 participants are willing to adopt the prototype of Korean artist fan clubs platform.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.293
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject นักร้อง -- เกาหลี (ใต้)
dc.subject ศิลปิน -- เกาหลี (ใต้)
dc.subject การสร้างต้นแบบซอฟต์แวร์
dc.subject Singers -- Korea (South)
dc.subject Artists -- Korea (South)
dc.subject Software prototyping
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Business
dc.title การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลี
dc.title.alternative Development of Korean artist fan clubs platform
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.293


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record