DSpace Repository

ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบการจัดการจราจรอวกาศไปใช้ในเชิงพาณิชย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงหทัย เพ็ญตระกูล
dc.contributor.author ธันย์ชนก คล่องแคล่ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:48:34Z
dc.date.available 2021-09-21T06:48:34Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76610
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศโดยเฉพาะดาวเทียมถูกนำมาประยุกต์ใช้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มของวัตถุอวกาศเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ สร้างความแออัดในวงโคจรและเพิ่มความเสี่ยงต่อการชนกับดาวเทียมปฏิบัติการอื่น ๆ ในประเทศไทยมีงานวิจัยที่พัฒนาระบบการจัดการจราจรอวกาศ เพื่อแจ้งเตือนความเสี่ยงต่อการชนของดาวเทียมกับวัตถุอวกาศ แต่ระบบดังกล่าวถูกใช้งานเฉพาะในองค์กรเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยีและด้านการตลาดของการนำระบบการจัดการจราจรอวกาศไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มหน่วยงานที่พัฒนาดาวเทียม และหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนาดาวเทียม จำนวน 12 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มเจาะจง จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำระบบการจัดการจราจรอวกาศไปใช้ในเชิงพาณิชย์กับหน่วยงานที่มีการนำส่งดาวเทียมที่อยู่วงโคจรระดับต่ำมากกว่าดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรค้างฟ้า จากการวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำระบบการจัดการจราจรอวกาศไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และเป็นรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว มีค่าเปิดเผยเทคโนโลยี 6,000,000 บาท และค่าตอบแทนการอนุญาตใช้สิทธิอยู่ที่ช่วงร้อยละ 4.0 - 7.0 จากรายได้ทั้งหมดต่อปี
dc.description.abstractalternative Nowadays, Space technology especially satellite has been applied progressively providing an increase in number of space objects. This makes an orbit more crowded and might cause more collision’s risk with other space objects in the same orbit.  Hence, the “Space Traffic Management System" research was developed to monitor and alert the risk of satellite collisions with space objects in Thailand.  Initially, this research has been implemented to support GISTDA’s satellites only. The objective of this study was to explore a possibility for commercially exploiting the Space Traffic Management System.  This study was conducted by in-depth interview a group of agencies operating and developing satellites - totally 12 people by random sampling method. The study shows the possibility in commercializing the Space Traffic Management System with Low Earth Orbit satellites, but not the Geostationary Earth Orbit satellites by licensing approach. The licensing fees are 6,000,000 bahts for upfront fee and 4-7% of the total annual revenue for the royalty fee.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.310
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การบิน -- ระบบสื่อสาร
dc.subject การควบคุมจราจรทางอากาศ
dc.subject Aeronautics -- Communication systems
dc.subject Air traffic control
dc.subject.classification Business
dc.title ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบการจัดการจราจรอวกาศไปใช้ในเชิงพาณิชย์
dc.title.alternative Feasibility study of commercialization of space traffic management: STM
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.310


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record