DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารเมศ ชุติมา
dc.contributor.author วิรัญญา เที่ยวมาพบสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:48:38Z
dc.date.available 2021-09-21T06:48:38Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76616
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนโดยส่วนมากใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศภายในประเทศ อันมาจากก๊าซไอเสียที่ปล่อยออกมาจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งประกอบไปด้วยก๊าซที่ก่อให้เกิดมลพิษ ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ชาติที่จะปรับอุตสาหกรรมยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปภายในให้กลายเป็นยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ภายในปี 2578 แต่ทั้งนี้ในแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นมาในปัจจุบันนั้นได้มีการมุ่งไปที่การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้นซึ่งสำหรับจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้มีการติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้านั้นต้องใช้วิธีการชาร์จประจุที่แตกต่างจากรถยนต์ ดังนั้นเพื่อที่จะเป็นการแนะนำแนวทางเบื้องต้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงสร้างสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความเป็นได้ขั้นพื้นฐาน ในที่นี้วิธีการศึกษาจะเป็นการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้มีการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างแพร่หลายแล้ว ตลอดจนการเก็บข้อมูลจากผลการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องผ่านคณะทำงานยานยนต์ไฟฟ้าสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดภาพรวมระบบนิเวศน์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมกับทรัพยากรหลักที่จำเป็นต่างๆในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า เพื่อที่จะเป็นการเร่งให้เกิดการยอมรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยได้นั้น ภาครัฐต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
dc.description.abstractalternative Thailand is a country where people rely on personal vehicles, especially conventional motorcycles which are the main source of the air pollution crisis in the country due to their emissions are containing tons of toxic gas. Hence, the Thai government announces the national strategic plan to switch from conventional fuel vehicles to electric ones by 2035. Currently, The EV main strategic encouragements focus on electric cars charging stations which pervasive distributed in Bangkok and vicinity provinces. However, electric motorcycles(EMs)require different battery charging methods. Therefore, to be the guideline the potential solutions of these issues, the objective of this study introduces the feasibility of the occurrence of swapping battery Infrastructure for electric motorcycles (EMs) based on previously successful implementation cases from several countries and the conclusion of EMs activities’ s movement from the electric vehicles working group of Thai automotive industries association. This study proposes the entire ecosystem of electric motorcycle stakeholders along with the main resources of swapping battery infrastructure for EMs. It is concluded that to accelerate the EMs adoption in Thailand, the government is the main trigger to stimuli the related affiliations.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.300
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Environmental Science
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
dc.title.alternative The feasibility studies on infrastructure of swapping battery station for electric motorcycle in Thailand
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.300


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record