DSpace Repository

Stratigraphy and volcanic facies In Khao Noi Area, Tha Takiap district, Chachoengsao province

Show simple item record

dc.contributor.advisor Abhisit Salam
dc.contributor.author Amporn Chaikam
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Science
dc.date.accessioned 2021-09-21T08:50:25Z
dc.date.available 2021-09-21T08:50:25Z
dc.date.issued 2020
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76938
dc.description Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2020
dc.description.abstract The Khao Noi volcanics is in Tha Takiap district, Chachoengsao province, eastern Thailand. This volcanics is a part of the Lampang volcanic belt, a potential host rocks for mineralizations, especially gold and antimony epithermal style deposits. Based on field investigation, drill core logging, and petrographic study, the Khao Noi host volcanic sequence has a thickness of at least 150 meters. The sequence can be divided into three units, namely 1) Sedimentary unit (Unit 1), 2) Mafic-intermediate volcanic unit (Unit 2), and 3) Felsic volcanic unit (Unit 3). Unit 1 forms as a basement of the Khao Noi volcanic sequence and is characterized by laminated limestone, laminated sandstone, limestone breccia, and laminated mudstone.  Unit 2 consists of plagioclase-phyric andesite, monomictic andesitic breccia, and mafic volcanic facies. This unit is mainly characterized by lava and hyaloclastite facies. Unit 3 consists of lithic-rich pumice breccia, crystal-rich pumice breccia, and quartz-phyric rhyolite facies. Both lithic-rich pumice breccia and crystal-rich pumice breccia facies were interpreted to form from the explosive eruption and deposited in the submarine environment below the wave-base.  The volcanic rocks (lava) from the mafic-intermediate volcanic unit (Unit 2) were selected for geochemistry study. Based on trace elements and REEs, the mafic-intermediate volcanic rocks range in composition from andesite to trachyte-andesite with calc-alkaline magma affinity. These volcanic rocks can be separated into two suites; Suite I shows a higher concentration of Ni, Ti, and V, and Suite II shows a higher concentration of Y and Zr. Both Suites I and II have negative Eu and Sr anomalies. Besides, they are characterized by enrichment of LILE and LREE with depleted Nb indicating the crust-derived magmatic source. A ratio of Ta/Yb vs. Th/Yb indicates that both suites originate in a continental arc or alkaline oceanic arc setting. According to the modern analogs of subduction-related settings, Suite I resembles a high-K calc-alkaline rock from the Riggit-Beser complex, Pleistocene age, East Java Indonesia. While Suite II similar to the high-K calc-alkaline rocks from the Aeolian islands of Pleistocene age from the southern part of the Tyrrhenian Sea, Italy. Furthermore, both Suites I and II are similar to the Lampang area's volcanic rocks, which occur in subduction-related settings during the Middle Triassic age. Thus, the Khao Noi volcanic rocks might be formed in an arc tectonic setting as a part of the Lampang volcanic belt.
dc.description.abstractalternative ภูเขาไฟเขาน้อย ตั้งอยู่ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออกของไทย ภูเขาไฟนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวหินภูเขาไฟลำปาง ซึ่งเป็นหินที่มีศักยภาพในการสะสมตัวของแร่แร่ โดยเฉพาะแหล่งแร่ทองคำและพลวงแบบอิพิเทอร์มอล (Au-Sn epithermal style) จากการศึกษาภาคสนาม ข้อมูลแท่งตัวอย่าง และการศึกษาศิลาวรรณนา พบว่าลำดับชั้นหินภูเขาไฟเขาน้อยมีความหนาไม่น้อยกว่า 150 เมตร ลำดับชั้นหินแบ่งออกเป็น 3 หน่วยหิน ประกอบด้วย 1) หน่วยหินตะกอน 2) หน่วยหินภูเขาไฟสีเข้ม-ปานกลาง (mafic-intermediate volcanic unit) และ 3) หน่วยหินภูเขาไฟสีจาง (felsic volcanic unit) หน่วยหินที่ 1 เป็นหินฐานของลำดับชั้นหินภูเขาไฟเขาน้อย ประกอบด้วยหินปูนแสดงชั้นบาง หินทรายแสดงชั้นบาง หินกรวดเหลี่ยมปูน และหินโคลนแสดงชั้นบาง หน่วยหินที่ 2 ประกอบด้วยหินแพลจิโอเคลสแอนดีไซต์ และหินกรวดเหลี่ยมแอนดีไซต์ หน่วยหินนี้มีลักษณะเป็นลาวาและไฮยาโลคลาสไตท์ หน่วยหินที่ 3 ประกอบด้วยหินกรวดเหลี่ยมพัมมิซเนื้อเศษหิน (lithic-rich pumice breccia) หินกรวดเหลี่ยมพัมมิซเนื้อผลึก (crystal-rich pumice breccia) และหินควอตซ์ไรโอไลต์ ลักษณะของหินกรวดเหลี่ยมพัมมิซเนื้อเศษหินและหินกรวดเหลี่ยมพัมมิซสามารถแปลผลได้ว่ามีการเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟและมีการสะสมตัวใต้ทะเลในระดับต่ำกว่าอิทธิพลของคลื่นทะเล  ในการศึกษาธรณีเคมีได้นำตัวอย่างหินภูเขาไฟ (ลาวา) จากหน่วยหินสีเข้ม-ปานกลาง (หน่วยหินที่ 2) มาทำการศึกษา หาปริมาณของธาตุร่องรอยและธาตุหายาก พบว่าหน่วยหินสีเข้ม-ปานกลางมีองค์ประกอบเป็นหินแอนดีไซต์จนถึงหินทราไคต์-แอนดีไซต์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับแมกมาชนิดแคลก์-แอลคาไล หินภูเขาไฟนี้สามารถแบ่งออกเป็นสองชุด โดยชุดที่หนึ่งมีปริมาณความเข้มข้นของธาตุนิกเกิล (Ni) ไทเทเนียม (Ti) และวาเนเดียม (V) ที่สูงกว่า และชุดที่สองมีปริมาณความเข้มข้นของธาตุอิตเทรียม (Y) และเซอร์โคเนียม (Zr) ที่สูงกว่า หินทั้งสองชุดแสดงค่าผิดปกติเชิงลบของธาตุยูโรเพียม (Eu) และสตรอนเชียม (Sr) ขณะเดียวกันยังมีความสมบูรณ์ของธาตุ LILE และ LREE สูง และมีปริมาณธาตุไนโอเพียม (Nb) ต่ำ ซึ่งบ่งชี้ถึงหินต้นกำเนิดมาจากเปลือกโลก อัตราส่วนของธาตุแทนทาลัมต่ออิตเทอร์เบียม (Ta/Yb) และอัตราส่วนของธาตุทอเรียมต่ออิตเทอร์เบียม (Th/Yb) บ่งชี้ว่าหินทั้งสองชุดมีการเกิดในธรณีแปรสัณฐานแบบแนวโค้งภูเขาไฟทวีปหรือแนวเกาะโค้งภูเขาไฟแอลคาไลมหาสมุทร จากการเปรียบเทียบกับแนวหินภูเขาไฟปัจจุบันที่เกิดสัมพันธ์กับการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก พบว่าหินชุดที่หนึ่งมีรูปแบบคล้ายกับหินแคลก์-แอลคาไลที่มีโพแทสเซียมสูง (High-K calc-alkaline) จากบริเวณ Riggit-Beser complex อายุไพลสโตซีน ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่หินชุดที่สองมีรูปแบบคล้ายกับหินแคลก์-แอลคาไลที่มีโพแทสเซียมสูง จากบริเวณเกาะเอโอเลียน (Aeolian island) อายุไพลสโตซีน ตอนใต้ของทะเลติร์เรเนียน (Tyrrhenian sea) ประเทศอิตาลี นอกจากนี้หินทั้งสองชุดยังมีลักษณะคล้ายกับหินภูเขาไฟจากพื้นที่ลำปางซึ่งเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการมุดตัวในช่วงยุคไทรแอสซิกตอนกลาง ดังนั้นหินภูเขาไฟเขาน้อยอาจมีการก่อตัวขึ้นในธรณีแปรสัณฐานแบบแนวโค้งภูเขาไฟและเป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟลำปาง
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.230
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject.classification Earth and Planetary Sciences
dc.subject.classification Earth and Planetary Sciences
dc.title Stratigraphy and volcanic facies In Khao Noi Area, Tha Takiap district, Chachoengsao province
dc.title.alternative ลำดับชั้นหินและชุดลักษณ์หินภูเขาไฟในบริเวณพื้นที่เขาน้อยอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.type Thesis
dc.degree.name Master of Science
dc.degree.level Master's Degree
dc.degree.discipline Geology
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.230


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record