Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดไนโตรเจนร่วมกับฟอสฟอรัสโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบเอสบีอาร์สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียนระบบปิด แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ช่วง การทดลองช่วงแรกเป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นปฏิกิริยาการบำบัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพ โดยทำการทดลองด้วยถังปฏิกรณ์แบบเอสบีอาร์ขนาด 2 ลิตร ใช้หัวเชื้อตะกอนชีวภาพเริ่มต้นจากระบบเลี้ยงสัตว์น้ำจริง เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้โซเดียมอะซิเตทและเมทานอลเป็นสารอินทรีย์คาร์บอนที่อัตราส่วนซีโอดีต่อฟอสฟอรัส (COD:P) เท่ากับ 7:1 14:1 และ 25:1 เพื่อใช้ในการบำบัดการไนเทรตและและฟอสฟอรัสผลการทดลองพบว่าชุดทดลองที่ใช้เมทานอลเป็นสารอินทรีย์คาร์บอนสามารถบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสได้ดีกว่าชุดทดลองที่เติมอะซิเตทเป็นสารอินทรีย์คาร์บอน นอกจากนั้นยังพบว่าที่ความเข้มข้นซีโอดีต่อฟอสฟอรัสทั้ง 3 ระดับ มีอัตราการบำบัดที่ใกล้เคียงกันจึงเลือกใช้เมทานอลเป็นอินทรีย์คาร์บอนที่ความเข้มข้นซีโอดีต่อฟอสฟอรัส 7:1 เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรและลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบเมื่อประยุกต์ใช้กับฟาร์มเชิงพาณิชย์โดยสามารถบำบัดบำบัดไนเทรตและฟอสฟอรัสได้ร้อยละ65 และ 93 ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดไนเทรตและฟอสฟอรัสภายใต้สภาวะไร้อากาศและแบบไร้อากาศสลับกับมีอากาศ ผลการทดลองพบว่าอัตราการบำบัดไนเทรตและฟอสฟอรัสสามารถเกิดขึ้นใต้ภายใต้สภาวะไร้อากาศเพียงสภาวะเดียวได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินระบบแบบไร้อากาศสลับกับมีอากาศ โดยมีประสิทธิภาพการบำบัดเท่ากับร้อยละ 69 และ 97 ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 3 เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพผงยีสต์สกัดและอาหารกุ้งในการบำบัดไนเทรตและฟอสฟอรัสเพื่อเป็นธาตุอาหารเสริมให้กับจุลินทรีย์ควบคู่กับการใช้อินทรีย์คาร์บอนผลการทดลองพบว่าการใช้ผงยีสต์สกัดเป็นธาตุอาหารเสริมควบคู่กับการใช้อินทรีย์คาร์บอนมีประสิทธิภาพการบำบัดไนเตรทและฟอสฟอรัสมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 63 และ 92 ตามลำดับ จากนั้นการทดลองช่วงสุดท้ายเป็นการประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์เอสบีการ์ขนาด 20 ล. เดินระบบตามสภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการทดลองที่ 1 2 และ 3 ผลการทดลองพบว่าชุดทดลองที่มีการเดินระบบแบบไร้อากาศที่ใช้เมทานอลที่ความเข้มข้นซีโอดีต่อฟอสฟอรัสเท่ากับ 7:1 เป็นแหล่งของสารอินทรีย์คาร์บอนระบบและใช้ผงยีสต์สกัดเป็นธาตุอาหารเสริมระบบจะเริ่มมีประสิทธิภาพการบำบัดและมีอัตราการบำบัดคงที่ตั้งแต่วันที่ 15 ของการทดลองเป็นต้นไป โดยสามารถบำบัดบำบัดไนเทรตและฟอสฟอรัสได้ร้อยละ69 และ 85 ตามลำดับ