dc.contributor.advisor |
ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ |
|
dc.contributor.author |
ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-22T23:25:37Z |
|
dc.date.available |
2021-09-22T23:25:37Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77073 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปมอร์ตาร์ในลักษณะของการแทนที่ปูนซีเมนต์ และแทนที่มวลรวมละเอียดตามลำดับ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ เถ้าลอยถ่านหินบิทูมินัส และเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชน ส่วนกากคอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาคือกากคอนกรีตจากโรงผลิตคอนกรีต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาทั้งสมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของเถ้าลอยและกากคอนกรีต รวมถึงสมบัติเพื่อการนำมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การรับแรงอัด สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงเสียงของผลิตภัณฑ์ สำหรับเถ้าลอยและมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยเป็นองค์ประกอบได้ศึกษาการชะละลายโลหะหนักด้วยวิธี Toxicity Characteristic Leaching Procedures (TCLP) วิธี Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SPLP) และวิธี Waste Extraction Test (WET) เพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าเพื่อให้ได้มอร์ตาร์ที่มีความต้านแรงอัดตามมาตรฐาน มอก. 59-2561 จะสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ได้ร้อยละ 25 - 50 สำหรับกากคอนกรีตสามารถใช้แทนที่มวลรวมละเอียดได้ถึงร้อยละ 100 ในด้านสมบัติเชิงความร้อนพบว่าผลิตภัณฑ์มีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.08 – 0.33 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งถือว่ามีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี แต่ในด้านสมบัติเชิงเสียงพบว่าผลิตภัณฑ์ยังมีสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของกำแพงกั้นเสียงที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกำหนด สำหรับการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเถ้าลอยพบว่าโดยส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินมาตรฐานยกเว้นปริมาณตะกั่ว (Pb) และสารหนู (As) ในเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนที่ชะละลายด้วยวิธี TCLP และเถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ชะละลายด้วยวิธี WET ตามลำดับ แต่เมื่อนำเถ้าลอยขึ้นรูปเป็นมอร์ตาร์พบว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณโลหะหนักโดยส่วนใหญ่ลดลงและมีค่าไม่เกินมาตรฐาน |
|
dc.description.abstractalternative |
This research investigated fly ashes and concrete waste use in the production of mortar. Fly ashes were used to partially replace Portland cement, and concrete waste was used as fine aggregate. In this study, three types of fly ash have been studied: Lignite coal fly ash (LFA), Bituminous coal fly ash (BFA), and Municipal solid waste incineration fly ash (MFA). Concrete waste (CW) was a residual from the concrete production. Physical and chemical properties of fly ash and concrete waste were investigated, as well as some properties including compressive strength, thermal properties, and acoustical properties. For the fly ash powder and mortar with fly ash, leaching of heavy metals was investigated with the method of TCLP, SPLP, and WET. Results showed that 25% - 50% of fly ashes, and 100% of CW could be used in cement-solidification reaching the standard TISI 59-2561. For the thermal testing, the results showed that the thermal conductivity of mortars were around 0.08 – 0.33 W/mK. It was good as insulator material. For the acoustical testing, it showed that the acoustical properties were not reached the noise barrier criteria of the Expressway Authority of Thailand. For the leaching test, among all types of fly ashes, Pb and As in leaching from MFA by TCLP and LFA by WET were found to be higher than the standard. On the other hand, all types of fly ash mortars were not found any heavy metals higher than the standard. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1291 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Environmental Science |
|
dc.title |
การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง |
|
dc.title.alternative |
Utilization of fly ash and concrete waste in production ofthermal insulation and noise barrier |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.1291 |
|