dc.contributor.advisor |
ชลิดา คล้ายโสม |
|
dc.contributor.author |
สุพิชญา ศรีสดใส |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-22T23:28:51Z |
|
dc.date.available |
2021-09-22T23:28:51Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77109 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการขึ้นรูปของเมมเบรนชนิดแผ่นเรียบด้วยวิธีการเปลี่ยนวัฏภาคเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการเมมเบรนแก๊สแอบซอร์ปชันซึ่งในกระบวนการดังกล่าวมักพบปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้งานคือการเปียกของเมมเบรน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเมมเบรนและประสิทธิภาพของเมมเบรนในการจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลดน้อยลง โดยในงานวิจัยนี้สนใจที่จะนำสาร 2 ประเภทคือ แอลกอฮอล์ (เมทานอลและเอทานอล) และคาร์บอนแบล็คมาใช้เป็นสารเติมแต่งให้กับสารละลายพอลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์เพื่อปรับโครงสร้างสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติความไม่ชอบน้ำของเมมเบรน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเติมสารเติมแต่งประเภทแอลกอฮอล์แล้ว สามารถช่วยเพิ่มขนาดของรูพรุนและความพรุนบนพื้นผิวเมมเบรนได้ โดยเมื่อเติมสารเติมแต่งเมทานอลกับคาร์บอนแบล็ค 5 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนักสามารถลดขนาดรูพรุนเฉลี่ยได้ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 192.5 นาโนเมตรเนื่องจากสามารถลดค่าความเข้ากันได้ของตัวทำละลายและตัวไม่ละลาย (น้ำ) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนวัฏภาคของเมมเบรนให้ช้าลงและเมื่อเพิ่มปริมาณของคาร์บอนแบล็คที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน (2.5, 5, 7.5 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนัก) ทำให้เพิ่มค่ามุมสัมผัสของความไม่ชอบน้ำของเมมเบรนจาก 79 องศาเป็น 88 องศาและความพรุนบนพี้นผิวของเมมเบรนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อนำไปทดสอบด้วยกระบวนการเมมเบรนแก๊สแอบซอร์ปชันโดยใช้โมโนเอทาโนลามีน 3 โมลาร์เป็นสารดูดซึม ได้ค่าฟลักซ์ของการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 3.57±1.1 มิลลิโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที |
|
dc.description.abstractalternative |
This research focus on effect preparation parameters of the formation of flat sheet membrane was prepared by a phase inversion technique for explain the CO2 removal performance via a membrane gas absorption. So, Problem in membrane gas absorptionc process is membrane wetting, causing membrane damages and low performance test. In this thesis concerned about using 2 types of substances, alcohol (methanol and ethanol) and carbon black, as the additives was incorporated in polyvinylidene fluoride (PVDF) to improve the membrane morphology and hydrophobicity of membrane. The results showed that adding alcohol species effect to highly pore size and surface porosity of membrane. When filled methanol and concentration of carbon black was 5 %by weight impact on pore size become lower 192.5 nm as the methanol was reduce the miscibility area of the system between solvent and non-solvent affect to decrease precipitation rate of the solutions. The effect of different concentration of carbon black (2.5, 5, 7.5 %by weight) found that enhanced the water contact angle from 79° to 88° and surface porosity of membranes. An absorbent used 3M of monoethanolamine (MEA) for membrane gas absorption give CO2 absorption flux at 3.57±1.1 mmol/m2s. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1067 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Chemical Engineering |
|
dc.title |
การพัฒนาเมมเบรนเพื่อจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการเมมเบรนแก๊สแอบซอร์ปชัน |
|
dc.title.alternative |
Development of composite membrane for CO2 capture via a membrane gas absorption process |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1067 |
|