Abstract:
การศึกษาเรื่องการกระจายตัวของต้นไม้ และการจำแนกพรรณไม้ในพื้นที่เมืองมีความจำเป็นอย่างมาก ต่อการบริหารจัดการและติดตามดูแลสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูงด้วยวิธีการจำแนกแบบต้นไม้การตัดสินใจ (Decision Tree) โดยใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด (Longitudinal Profiles) และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ (LiDAR) ทางอากาศเพื่อจำแนกต้นไม้ 7 ชนิดในพื้นที่ศึกษาบริเวณสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร พบว่าการปรับปรุงวิธีการดังกล่าวจากงานศึกษาเดิมสามารถจำแนกต้นไม้ที่มีลักษณะต้นเดี่ยวและกลุ่มทั้ง 7 ชนิดได้อย่างถูกต้อง โดยได้ค่าความถูกต้องโดยรวมเฉลี่ย (Overall Accuracy) 78.7% สังเกตได้ว่าค่าความถูกต้องโดยรวมของการจำแนกมีค่าน้อยกว่างานอ้างอิงที่รายงานค่าความถูกต้อง Overall Accuracy ที่ระดับ 88.9% เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของต้นไม้ทั้ง 7 ชนิด มีลักษณะใกล้เคียงกันและแยกออกจากกันได้ยากกว่างานอ้างอิงที่ศึกษาต้นไม้ในพื้นที่ศึกษาเพียงแค่ 3 ชนิด ในอนาคตหากมีการปรับปรุงวิธีการจำแนกด้วยการลดอิทธิพลจากผู้ทดลองและใช้วิธีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) คาดว่าจะสามารถช่วยหาเงื่อนไขของการจำแนกที่ดีที่สุด (optimal criteria) และสามารถจำแนกต้นไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นได้ อย่างไรก็ตามลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ให้ค่าความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยการบริหารจัดการต้นไม้ในพื้นที่ศึกษาอื่นทีมีพืชคล้ายกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ